พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส

พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส
พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียชนิด Treponema pallidum มีระยะฟักตัวประมาณ 2 – 4 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน ชอบบริเวณที่มีความชื้น แพร่กระจายจากบุคคลต่อบุคคล ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทางช่องคลอด ช่องทางทวาร หรือช่องปาก โดยไม่ได้ป้องกัน หากไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ส่งผลต่อระบบประสาท หัวใจ สมอง ระบบต่างๆ ของร่างกาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดซิฟิลิส

มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางซิฟิลิส มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิส
 เปลี่ยนคู่นอนบ่อยการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสได้ เนื่องจากมีโอกาสมากขึ้น ที่จะมาติดต่อกับคนที่ติดเชื้อ
มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อซิฟิลิส หรือติดเชื้อโรคติดเชื้อทางเพศอื่นๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสให้เรามากขึ้น
 ใช้สารเสพติดชนิดฉีดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน สามารถทำให้ติดเชื้อซิฟิลิสได้เช่นกัน เพราะซิฟิลิสติดต่อกันได้ผ่านทางเลือด
มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่มีเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส สูงขึ้น

ซิฟิลิสแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 

ซิฟิลิสแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 

ระยะแรก (Primary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง (chancre) อาจเป็นแผลเดียวหรือหลายแผล ไม่มีอาการเจ็บ ส่วนมากเกิดในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ช่องปาก ทวารหนัก ไส้ตรง แผลอาจคงอยู่ราว 3 ถึง 6 สัปดาห์แล้วหายเอง หากผู้ป่วยไมได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะที่สอง เนื่องจากแผลดังกล่าวไม่เจ็บและส่วนมากเกิดในที่ลับ ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทันสังเกตเห็นก่อนที่แผลจะหายไป

ระยะที่สอง (Secondary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยมักมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้ารวมถึงอาจมีผื่นขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกาย ผื่นมีสีแดงน้ำตาล ไม่คัน อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า “ระยะออกดอก” ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ผมร่วง อ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายไปเอง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะถัดไป

ระยะแฝง (Latent Stage Symptoms)

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ ได้นานหลายปี โรคซิฟิลิสในระยะนี้อาจตรวจพบได้จากการเจาะเลือดเท่านั้น

ระยะที่สาม (Tertiary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะก่อนหน้านี้จะเข้าสู่ระยะที่สาม เชื้อโรคอาจทำลายหัวใจ สมอง ตา รวมถึงอวัยวะอย่างอื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น อาการขยับแขนขาได้ลำบาก อัมพาต อาการชา ตาบอด โรคหัวใจ หรือเสียชีวิตได้ บางครั้งโรคนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Imitator) เนื่องจากทำให้มีอาการได้หลากหลาย คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หลายโรค

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจทันที ซิฟิลิสอาจจะดูรุนแรง แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

การป้องกันซิฟิลิส

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • งดมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ตรวจคัดกรองสุขภาพทางเพศเป็นประจำ

การรักษาซิฟิลิส

การรักษาซิฟิลิส

ซิฟิลิส  เป็นโรคที่สามารถรักษาได้หายขาด ในกรณีที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อซิฟิลิส ดังนั้น หากคุณมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อซิฟิลิส ควรเข้ารับการตรวจทันที แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม การตรวจพบซิฟิลิส ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม และหยุดการลุกลามของโรคได้ ส่วนการใช้ยาและชนิดของยา จะขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและดุลยพินิจของแพทย์

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าซิฟิลิส สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะดีกว่าไหมหากเราป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่าการรักษาอย่างแน่นอน ดังนั้นควรป้องกันตัวเองอยู่เสมอ โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพสัมพันธ์ ตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพียงเท่านี้ซิฟิลิสก็เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป

ถาม – ตอบ เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส

ถาม – ตอบ เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส

ซิฟิลิส เป็นอีกโรคหนึ่งที่ร้ายแรงและมีคนเป็นโรคนี้จำนวนมาก เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยระมัดระวังในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัย และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับโรคซิฟิลิส

ถาม : ซิฟิลิสเกิดจากอะไร  ?  

ตอบ : ซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเชื้อแบคทีเรียเทรโพนีมา พัลลิดัม (Treponema pallidum) เชื้อโรคเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล เยื่อบุต่างๆ และ ทางผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

ถาม : ซิฟิลิสอาการเป็นอย่างไร ?

ตอบ : อาการของซิฟิลิสอาจจะเริ่มจากการที่มีผื่นขึ้น มีแผลที่แข็ง เช่น ริมฝีปาก อวัยวะเพศ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นแค่เพียงแผลใหญ่แผลเดียว เมื่อเริ่มมีอาการแล้วอยู่ๆ อาการเหล่านี้ก็หายไป แต่อย่าพึ่งวางใจ เพราะอาจจะอยู่ในช่วงระยะอาการแฝง คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่รู้อาการ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

ถาม : ซิฟิลิสมีกี่ระยะ ?

ตอบ : ซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

  1. ซิฟิลิส ระยะแรก อาการเด่นคือเป็นแผลริมแข็ง ซึ่งมักพบหรือซ่อนอยู่ที่อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก และมักเป็นเพียงแผลเดียว มีขอบนูนแข็ง แต่ไม่เจ็บ ไม่ปวด เกิดหลังมีเพศสัมพันธ์หรือได้รับเชื้อมาประมาณ 10-90 วัน หลังจากนั้นแผลสามารถหายได้เองภายใน 1-5 สัปดาห์ แม้ไม่ได้รักษา
  2. ซิฟิลิส ระยะสอง เมื่อแผลหายแล้ว คือหลังจากระยะแรกประมาณ 6 สัปดาห์ จะเริ่มมีผื่นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลำตัว อาจกระจายไปทั่วร่างกาย เรียกว่า ระยะออกดอก บางคนอาจมีแผลคล้ายหูดขึ้นในปากหรืออวัยวะเพศ หรือมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เหมือนโดนแมลงแทะ มีขนคิ้วร่วง หลังจากนั้นอาการอาจหายไปได้เองภายใน 1-3 เดือน
  3. ซิฟิลิส ระยะแฝง เมื่ออาการในระยะที่ 2 หายไปได้เองโดยที่ยังไม่ได้รักษา เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายต่อไปได้อีกหลายปีโดยไม่ได้แสดงอาการผิดปกติอะไรออกมาอีก จึงเรียกว่า ระยะแฝง หรือระยะหลบซ่อน หากตรวจเลือดจะพบเชื้อในกระแสเลือด ขณะที่ในสตรีที่มาฝากครรภ์มักพบโรคซิฟิลิสระยะแฝงนี้มากกว่าระยะอื่น ซึ่งถ้าไม่รักษาจะสามารถถ่ายทอดไปสู่ทารกในครรภ์ได้
  4. ซิฟิลิส ระยะสาม เชื้อซิฟิลิสสามารถอยู่ในร่างกายได้นานเป็น 10-30 ปี ซึ่งในบางคน หากไม่รักษา หรือรักษาไม่ครบตามคำสั่งของแพทย์ เชื้อสามารถแพร่กระจายเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท สมอง และลุกลามเข้ากระดูกได้ด้วย ส่งผลให้ร่างกายพิการ ตาบอด หูหนวก เป็นอัมพาต ขณะที่สมอง หัวใจ ตับ ไขสันหลัง อาจถูกทำลายจนไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

ถาม : ใครบ้างที่ควรตรวจซิฟิลิส ?

ตอบ : เมื่อรู้ตัวว่ามีอาการ หรือสงสัยว่าติดเชื้อซิฟิลิส ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพราะการรักษาตอนที่ยังเป็นระยะแรก จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าหากพบในระยะหลัง อาจจะรักษาให้หายขาดนั้นทำได้ยาก และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานอีกด้วย ดังนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ควรรีบตรวจคัดกรอง

  • คนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • คู่รักที่กำลังจะแต่งงาน หรือผู้หญิงที่เตรียมพร้อมจะมีบุตร
  • หญิงกำลังตั้งครรภ์ อาจตรวจเพื่อความมั่นใจว่าไม่มีเชื้อแฝงอยู่
  • คนที่มีอาการป่วยคล้ายกับโรคซิฟิลิส หรือคู่นอนของตัวเองมีอาการป่วยคล้ายกับโรคซิฟิลิส

ถาม : ซิฟิลิสป้องกันได้อย่างไร ?

ตอบ : ซิฟิลิสถึงแม้จะอันตรายแต่หากเรามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ก็สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์เฉพาะคู่นอนของตัวเองเท่านั้น
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
  • ชวนคนรักไปตรวจเลือด หากพบใครเป็นโรคนี้จะได้รักษาให้หายขาดก่อน

ถาม : ซิฟิลิสมีวัคซีนป้องกันไหม ?

ตอบ : ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันซิฟิลิส แต่เราสามารถป้องกันได้ โดยการมีคู่นอนคนเดียว สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็ควรจะตรวจเช็คร่างกายบ่อย ๆ เพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ถาม : ตรวจซิฟิลิสราคาเท่าไร?

ตอบ : การตรวจโรคซิฟิลิสมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ๆ และวิธีที่ใช้ตรวจ ดังนี้

คลินิกนิรนาม

  • ตรวจซิฟิลิสวิธี RPR มีอัตราค่าบริการ 100 – 200 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
  • ตรวจซิฟิลิสวิธี treponemal test มีอัตราค่าบริการ 200 – 300 บาท รอผล 1 ชั่วโมง

คลินิกเอกชน

  • ตรวจแบบรวดเร็ว ตรวจแบบง่าย มีอัตราค่าบริการเริ่มต้น 500 บาท รอผล 15 นาที
  • ตรวจซิฟิลิส VDRL ประมาณ 100 – 300 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
  • ตรวจแบบ RPR ประมาณ 100 – 300 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
  • ตรวจแบบ TPHA ประมาณ 200-500 บาท รอผล 1 ชั่วโมง
  • FTA-ABS IgG มีอัตราค่าบริการเริ่มต้น ราคา 600 บาท รอผล 3 วัน
  • FTA-ABS IgM มีอัตราค่าบริการเริ่มต้น ราคา 600 บาท รอผล 3 วัน

โรงพยาบาลรัฐบาล

ขึ้นอยู่กับสิทธิประกันสังคม ประกันสุขภาพต่าง ๆ มี โดยอาจมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 – 500 บาท

โรงพยาบาลเอกชน

ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล จึงควรติดต่อสอบถามรายละเอียดล่วงหน้าก่อนการเข้ารับการตรวจ

ถาม : ซิฟิลิสรักษาหายขาดไหม ?

ตอบ : หากตรวจพบเชื้อซิฟิลิส ตั้งแต่ระยะต้น ๆ จะสามารถรักษาให้หายได้แน่นอนโดยใช้ยาเพนิซิลลินฉีดเข้ากล้ามเนื้อร่วมกับการกินยา แต่หากติดเชื้อมานานแล้วจะมีการเพิ่มขนาดยาเพื่อให้การรักษาได้ผลมากขึ้น ซึ่งระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็นด้วย โดยระหว่างรักษา ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และรับยาให้ครบกำหนด

ขอบคุณข้อมูลจาก : Sanook, Kapook, Doctorraksa

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม