พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส

พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส
พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียชนิด Treponema pallidum มีระยะฟักตัวประมาณ 2 – 4 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน ชอบบริเวณที่มีความชื้น แพร่กระจายจากบุคคลต่อบุคคล ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทางช่องคลอด ช่องทางทวาร หรือช่องปาก โดยไม่ได้ป้องกัน หากไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ส่งผลต่อระบบประสาท หัวใจ สมอง ระบบต่างๆ ของร่างกาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดซิฟิลิส

มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางซิฟิลิส มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิส
 เปลี่ยนคู่นอนบ่อยการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสได้ เนื่องจากมีโอกาสมากขึ้น ที่จะมาติดต่อกับคนที่ติดเชื้อ
มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อซิฟิลิส หรือติดเชื้อโรคติดเชื้อทางเพศอื่นๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสให้เรามากขึ้น
 ใช้สารเสพติดชนิดฉีดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน สามารถทำให้ติดเชื้อซิฟิลิสได้เช่นกัน เพราะซิฟิลิสติดต่อกันได้ผ่านทางเลือด
มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่มีเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส สูงขึ้น

ซิฟิลิสแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 

ซิฟิลิสแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 

ระยะแรก (Primary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง (chancre) อาจเป็นแผลเดียวหรือหลายแผล ไม่มีอาการเจ็บ ส่วนมากเกิดในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ช่องปาก ทวารหนัก ไส้ตรง แผลอาจคงอยู่ราว 3 ถึง 6 สัปดาห์แล้วหายเอง หากผู้ป่วยไมได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะที่สอง เนื่องจากแผลดังกล่าวไม่เจ็บและส่วนมากเกิดในที่ลับ ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทันสังเกตเห็นก่อนที่แผลจะหายไป

ระยะที่สอง (Secondary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยมักมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้ารวมถึงอาจมีผื่นขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกาย ผื่นมีสีแดงน้ำตาล ไม่คัน อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า “ระยะออกดอก” ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ผมร่วง อ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายไปเอง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะถัดไป

ระยะแฝง (Latent Stage Symptoms)

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ ได้นานหลายปี โรคซิฟิลิสในระยะนี้อาจตรวจพบได้จากการเจาะเลือดเท่านั้น

ระยะที่สาม (Tertiary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะก่อนหน้านี้จะเข้าสู่ระยะที่สาม เชื้อโรคอาจทำลายหัวใจ สมอง ตา รวมถึงอวัยวะอย่างอื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น อาการขยับแขนขาได้ลำบาก อัมพาต อาการชา ตาบอด โรคหัวใจ หรือเสียชีวิตได้ บางครั้งโรคนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Imitator) เนื่องจากทำให้มีอาการได้หลากหลาย คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หลายโรค

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจทันที ซิฟิลิสอาจจะดูรุนแรง แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

การป้องกันซิฟิลิส

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • งดมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ตรวจคัดกรองสุขภาพทางเพศเป็นประจำ

การรักษาซิฟิลิส

การรักษาซิฟิลิส

ซิฟิลิส  เป็นโรคที่สามารถรักษาได้หายขาด ในกรณีที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อซิฟิลิส ดังนั้น หากคุณมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อซิฟิลิส ควรเข้ารับการตรวจทันที แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม การตรวจพบซิฟิลิส ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม และหยุดการลุกลามของโรคได้ ส่วนการใช้ยาและชนิดของยา จะขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและดุลยพินิจของแพทย์

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าซิฟิลิส สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะดีกว่าไหมหากเราป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่าการรักษาอย่างแน่นอน ดังนั้นควรป้องกันตัวเองอยู่เสมอ โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพสัมพันธ์ ตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพียงเท่านี้ซิฟิลิสก็เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป