การตรวจเอชไอวีมีกี่แบบ?

เมื่อการตรวจเลือดเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณรู้ว่ามีเชื้อเอชไอวีอยู่หรือไม่ การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่จึงทำการตรวจได้จากเลือด ซึ่งมีวิธีอยู่ 5 แบบหลัก ๆ ได้แก่

การตรวจหาภูมิคุ้นเคยต่อเชื้อเอชไอวี (Antibody HIV)

beefhunt

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจหาภูมิคุ้นเคย หรือที่เรารู้จักโดยทั่วไปคือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายนั่นเอง แอนติบอดี (Antibody) หรือสารภูมิต้านทานเป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับ และทำลายสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาในร่างกายของคนเรา เมื่อเราได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้ามา แอนติบอดีก็จะตรวจจับได้ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป (ประมาณ 1 เดือน) วิธีตรวจแบบ Anti-HIV นี้ นิยมนำมาใช้ตรวจหาเชื้อมากที่สุด เพราะทราบผลตรวจไว ภายใน 1-2 ชั่วโมง และแพทย์มักจะแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือนเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี (HIV p24 Antigen Testing)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจหาโปรตีนของเชื้อที่มีชื่อว่า p24 มักจะใช้ในกรณีที่ผู้มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี ยังมีระยะฟักตัวที่ไม่เพียงพอ หรือร่างกายยังไม่สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ รวมทั้งมีระดับแอนติเจนต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดได้ แอนติเจน คือ สารก่อภูมิต้านทานที่มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย เมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับได้โดยแอนติบอดีนั่นเอง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป (ประมาณ 2 สัปดาห์) ข้อเสียของวิธีนี้คืออาจจะยังตรวจไม่เจอเชื้อเพราะระยะฟักตัวค่อนข้างน้อย แพทย์จึงแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 1 เดือนเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Anti-HIV และ Antigen ของเชื้อพร้อมกัน (HIV Ag/Ab combination Assay)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เรียกโดยทั่วไปว่า การตรวจแบบใช้น้ำยา 4th Generation คือ เป็นการตรวจแบบทั้งวิธีที่ 1 Anti-HIV และที่ 2 HIV p24 Antigen ในคราวเดียวกันนั่นเอง น้ำยา 4th Generation นี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานพยาบาลทั่วไปเพื่อตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป (ประมาณ 2 สัปดาห์) ให้ผลตรวจที่แม่นยำ รวดเร็ว

การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเอชไอวี (NAT : Nucleic Acid Testing)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยตรงจาก RNA ของเชื้อ ถือเป็นวิธีที่สามารถตรวจเจอเชื้อได้รวดเร็วที่สุด หลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 5-7 วันขึ้นไป ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี ไม่ต้องรอระยะฟักตัว ช่วยลดความกังวลเพราะได้รับการตรวจที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน แต่วิธียังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายนัก ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจคัดกรองเลือดของผู้บริจาคเลือด หรือมีบริการที่คลินิกนิรนาม หรือสถานพยาบาลเฉพาะทาง และบางแห่งก็ไม่สามารถรู้ผลตรวจได้ภายในวันเดียว อาจต้องรอผลตรวจหลังจากนั้นอีก 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละสถานที่ และแพทย์จะแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำด้วยวิธีอื่น ๆ อีกครั้งที่ 1 เดือนเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจแบบ Rapid HIV Test

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจคัดกรองไวรัสเอชไอวีเบื้องต้นเท่านั้น และยังใช้เวลาในการทราบผลเพียง 20 นาที ถือว่าเป็นวิธีที่มีความรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ แต่ผู้ตรวจก็ยังจำเป็นที่จะต้องไปตรวจเอชไอวีแบบ Anti-HIV อีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการตรวจ

ตรวจเอชไอวี ตรวจเลือด ตรวจเอดส์ ตรวจซิฟิลิส อาการเอดส์ ตรวจเลือดกี่วัน ระยะฟักตัว Window Period HIV Aids

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี?

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ทราบผลเลือด
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มทิ่มตำ
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร

การตรวจหาเชื้อเอชไอวีจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ตรวจโดยสมัครใจ และจะต้องได้รับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทั้งก่อนและหลังการตรวจเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกัน และการรักษาหากผู้ตรวจพบเชื้อ แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่การติดเชื้อก็ไม่ได้ทำให้คุณเสียชีวิตทันที และตัวยาที่ถูกพัฒนาด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในตอนนี้ ก็ช่วยให้ผู้ที่มีเชื้อสามารถอยู่ร่วมกับไวรัสเอชไอวีได้อย่างมีสุขภาพดีครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ