U = U (ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่)

U = U (ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่)
U = U (ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่)

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ

U=U คืออะไร

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ

U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

หมายถึง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แล้วกินยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้มีจำนวนลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจหาไวรัสในเลือดพบ คือ ผลการตรวดวัดเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อมีค่าน้อยกว่า 50 copies/mm3 (อาจมีค่าน้อยกว่า 40 หรือ 20 copies/mm3 ขึ้นกับความสามารถของชุดตรวจ)  และมีหลักฐานชัดเจนว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง แม้จะไม่ได้หายขาดจากโรคเอดส์ หรือทางเพศสัมพันธ์แม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ตรวจเอชไอวี ไม่เจอ เป็นเพราะอะไร

การที่จะสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้  กรณีที่จะตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

1. กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางบุคคลอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไป ซึ่งการตรวจเอชไอวีที่ดีนั้น จะมีระยะเวลา และวิธีที่เหมาะสม และเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมา โดยประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับความเสี่ยง ถึงจะค่อนข้างน่าเชื่อถือ สำหรับการตรวจรอบแรก การตรวจเอชไอวีรอบแรกหากตรวจไม่พบ ก็ควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

2. กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ 

การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนของกลุ่มคน U = U มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร

ความเสี่ยงยังมีอยู่ เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม U = U อาจจะป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ยังมีความเสียงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่สามารถป้องกันได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยในกลุ่มคน U = U

ถ้าจะไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับคู่ของตนเอง เพราะเหตุจำเป็น เช่น ไม่มีถุงยาง ถุงยางแตก หรืออยากมีบุตรตามธรรมชาติ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นกังวลหรือโทษตัวเอง และเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีความมั่นใจและชีวิตครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ส่วนการตัดสินใจว่าจะใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และการยินยอมพร้อมใจกันของคนทั้ง 2 คน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร เป็นกังวลเรื่องอะไร เช่น เป็นกังวลเรื่องตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ การอยู่ในสถานะตรวจไม่เจอเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ ถ้าไม่ใส่ถุงยางอนามัย  เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้

การติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อนในกลุ่มคน U=U

ตั้งแต่มีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสอย่างแพร่หลายในปจจุบัน พบว่ายังไม่มีรายงานการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อน หรือติดเชื้อดื้อยา จากคนอื่นในผู้ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พอเชื้อแล้วเลย

U=U เหมาะกับใคร

U=U เหมาะกับใคร?

  • เหมาะกับคนที่ติดเชื้อเอชไอวีที่กินยาอย่างถูกต้อง ที่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีให้ใครได้อย่างแน่นอน
  • เหมาะกับคู่ของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี U=U แล้ว เพราะ มั่นใจได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด

ประโยชน์ของ U = U

  • สำหรับผู้ติดเชื้อ มีแรงจูงใจในการกินยาต่อเนื่อง หมั่นไปตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดทุกปีตามสิทธิ์ และทำให้รับรู้สถานะของตนว่า ตรวจไม่เจอจริงหรือไม่ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น มีครอบครัวได้ สุขภาพจิตดีขึ้น มีความมั่นใจตนเองมากขึ้น กล้าตัดสินใจเปิดเผยผลเลือดของตนให้คู่นอนทราบ กล้าชวนคู่ไปตรวจเอชไอวี กล้าตัดสินใจตั้งครรภ์ และเลิกโทษตัวเองว่าอาจเป็นเหตุทำให้คู่ของตนติดเชื้อ เพราะไม่สามารถใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง รวมถึงลดความกลัวในการคุยกับหมอ เช่น หากหมอถามว่าใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งหรือเปล่า ก็ตอบว่าใส่ทุกครั้งเพราะเกรงใจหมอ ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ทุกครั้ง

  • สำหรับคนทั่วไป ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือผู้ที่ไม่เคยไปตรวจเลือดเลย กล้าที่จะไปตรวจและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาในทันทีหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่รักษาจนตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ป่วยแล้ว ยังสามารถมีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป

  • สำหรับสังคม  เมื่อสังคมมีความเข้าใจเรื่อง U = U แล้ว อาจทำให้การรังเกียจ และกีดกันผู้ติดลดลง สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่มีเหตุผลในการห้ามไม่ให้เข้าทำงาน เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาแล้ว ไม่เป็นอันตรายต่อคู่นอนของเขาแม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ตาม และไม่เป็นอันตรายต่อคนในที่ทำงาน อีกทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเท่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ติดเชื้อ และไม่เพิ่มภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับองค์กร เพราะรัฐรับภาระการรักษาพยาบาลให้ผู้ติดเชื้อทุกคน  

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อHIV ที่เป็นกลุ่ม U=U

คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีต่อเนื่องตรงเวลาจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จึงจะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้ แต่ความเป็นจริงเชื้อยังคงอยู่ในเลือดอยู่ และผู้ติดเชื้อยังต้องกินยาต้านไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การทานยาต้านก็เป็นเพียงการรักษา และป้องกันเอชไอวีเท่านั้น 

แต่อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เมื่อไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะ กรณีแม่ที่ติดเชื้อแม้ผลเลือดจะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ยังคงต้องกินยา ลูกที่คลอดออกมาก็ต้องกินยาป้องกันเหมือนเดิม รวมไปถึงการที่แม่ผู้ติดเชื้อไม่สามารถให้นมบุตรได้ เพราะเชื้อเอชไอวียังถูกส่งผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้อยู่ถึงแม้ว่าผลเลือดของแม่จะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ตาม  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ

เพราะฉะนั้นการไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีเร็วจึงมีประโยชน์ ทำให้ทราบสถานะผลเลือดโดยเร็ว เมื่อผลเลือดบวกก็เข้าสู่การรักษาโดยเร็ว ทำให้มีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนที่ไม่มีเชื้อ และต้องเน้นย้ำกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ผลเลือดตรวจไม่เจอเชื้อ แต่ในร่างกายยังคงมีเชื้อเอชไอวี หากยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ การใช้ยา PrEP / PEP ก็ไม่สามารถให้ผลป้องกันได้ 100% และการใช้ถุงยางอนามัยยัง ก็ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ถึงแม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง?
ความสัมพันธ์ของค่า CD4 กับ Viral load ในผู้ป่วยเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U https://www.redcross.or.th/news/information/9847/
  • รู้ทันเอชไอวี U=U คืออะไร https://th.trcarc.org/uu-คืออะไร/
  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นจากอะไร https://www.thaihivtest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • U=U คืออะไร และการทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อ HIV https://mobile.swiperxapp.com/pmt-article-uu-hiv/

วิธีการรับมือกับผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี
ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเริ่มกินยาต้านไวรัสเอชไอวีโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการรักษาตัวผู้ติดเชื้อไวรัสเอชเอชไอวีเอง และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวีไปสู่ผู้อื่น 

ยาต้านไวรัสคือ

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล เอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อเอชไอวี สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. Reverse transcriptase inhibitors ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส (reverse transcription) ยากลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม
    • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ได้แก่ Abacavir (ABC), Didanosine (ddI), Emtricitabine (FTC), Lamivudine (3TC), Stavudine (d4T), Tenofovir (TDF), Zalcitabine (ddC), Zidovudine (AZT)
    • Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ Delavirdine (DLV), Efavirenz (EFV), Etravirine (ETR), Nevirapine (NVP), Rilpivirine (RPV)
  2. Protease inhibitors (PIs) ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส ยากลุ่มนี้ได้แก่ Darunavir (DRV), Indinavir (IDV), Nelfinavir (NFV), Ritonavir (RTV), Saquinavir (SQV), Kaletra® (lopinavir/ritonavir, LPV/r), Reyataz® (atazanavir/ritonavir, ATV/r) เป็นต้น
  3. Integrase strand transfer inhibitors (INSTIs) ยับยั้งไม่ให้ DNA ของไวรัสรวมตัวกับ DNA ของคน ยากลุ่มนี้ได้แก่ Dolutegravir (DTG), Elvitegravir (EVG), Raltegravir (RAL) เป็นต้น
  4. Entry/Fusion inhibitors ยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่ Enfuvirtide (INN), Maraviroc (EVG) เป็นต้น

3. ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด ดังนี้

Zidovudine (AZT, ZDV) ยาต้านไวรัสที่ช่วยไม่ให้เชื้อเอชไอวีเพิ่มจำนวน และใช้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีถ่ายทอดเชื้อไปยังทารก

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้ อาเจียน
  • • เป็นไข้ เจ็บคอ
  • • ปวดศีรษะ
  • • โลหิตจาง
  • • ลมพิษ
  • • หายใจติดขัด 
  • • บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
  • • เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ
  • •แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว
  • • ผิวและเล็บอาจมีสีคล้ำ

Lamivudine (3TC) เป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวี เช่น การติดเชื้อบางชนิด และมะเร็ง เป็นต้น 

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส
  • • ปวดศีรษะ
  • • ตับออนอักเสบ

Didanosine (ddI) ใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ยาไดดาโนซีนไม่สามารถรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้หายขาดได้ แต่อาจช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส
  • • อาเจียน
  • • ท้องเสีย
  • • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • • ตับอ่อนอักเสบ

Stavudine (d4T) รักษาโรคตดิเช้ือ HIV ซ่ึงไมส่ ามารถทนตอ่ หรือด้ือตอ่ ยาอื่นๆ หรือใช้ยาอื่นไม่ ได้ผล

ผลข้างเคียง

  • • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • • ระดับแลคเตทในเลือดสูง
  • • ตับออนอักเสบ
  • • แก้มตอบ ไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • • ระดับไขมันในเลือดสูง

Abacavir (ABC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่แพทย์นำมาใช้ร่วมกับยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีชนิดอื่น ออกฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้ออื่น ๆ และการเกิดมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้
  • • อาเจียน
  • • ท้องเสีย
  • • ภาวะภูมิไวเกิน

Tenofovir (TDF) เป็นยาต้านไวรัส ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อรักษาควบคู่กัน แต่ยานี้อาจไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสทั้งหมด เพียงแต่ช่วยควบคุมโรคเท่านั้น

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้
  • • อาเจียน
  • • ท้องอืด แน่นท้อง
  • • ท้องเสีย

Tenofovir+emtricitabine (TDF/FTC) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของยาสูตรผสมที่ต้องรับประทานคู่กันเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้
  • • อาเจียน
  • • ท้องอืด แน่นท้อง
  • • ท้องเสีย
  • • ปวดศีรษะ
Efavirenz (EFV)

Efavirenz (EFV) เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาจะช่วยลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมะเร็งหรือการติดเชื้ออื่น ๆ 

ผลข้างเคียง

  • • วิงเวียนศีรษะ
  • • ง่วงนอน
  • • อาการนอนไม่หลับ
  • • อาการสับสน 

Etravirine (ETR) เป็นยาใหม่ในกลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ที่กำลังพัฒนาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
    • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • • คลื่นไส้ 

Nevirapine (NVP) รักษาอาการติดเชื้อเอชไอวี เป็นยาในกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • • ตับอักเสบ อาจรุนแรงถึงตับวายเฉียบพลัน

Rilpivirine (RPV) เป็นยากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)

ผลข้างเคียง

  • • ปวดศีรษะ
  • • อาการนอนไม่หลับ
  • • ผื่นแพ้ 
    • ซึมเศร้า 

Atazanavir sulfate (ATV)  ใช้สำหรับการรักษา, ควบคุม, ป้องกันและรักษาอาการและสภาพของการติดเชื้อเอชไอวีให้ดีขึ้น

ผลข้างเคียง

  • • ภาวะตัวเหลือง 
  • • คลื่นไส้
  • • ผื่นแพ้ 
  • • ท้องเสีย
  • • ปวดศีรษะ 

Ritonavir (RTV) เป็นยาต้านไวรัสที่มักใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ลดปริมาณเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้อต่าง ๆ และโรคมะเร็ง 

ผลข้างคียง

  • • Gastrointestinal side effect คลื่นไส้ , อาเจียน, ท้องเสีย
  • • ระดับไขมันในเลือดสูง 
  • • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 
  • • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  

Lopinavir/ritonavir (LPV/r) ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสตัวอื่นๆ ในการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส
    • อาเจียน
    • ท้องเสีย
    • ระดับไขมันในเลือดสูง  
  • • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง 
    • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 

Darunavir (DRV)  เป็นยาต้านไวรัสอยู่ในกลุ่ม ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ใช้รักษาโรคติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ 
  • • คลื่นไส้
  • • ท้องเสีย
  • • ปวดศีรษะ 

Saquinavir (SQV) ใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) และยารักษาโรคเอชไอวีอื่นๆ เพื่อควบคุมอาการติดเชื้อเอชไอวี โดยลดปริมาณของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการแทรกซ้อนของเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • • ท้องเสีย
  • • คลื่นไส้
  • • ปวดท้อง 

Maraviroc (MVC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มตัวรับ CCR5 ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

ผลข้างเคียง

  • • ปวดท้อง 
    • ไอ 
    • วิงเวียนศีรษะ 
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
    • อาการไข้ ตัวร้อน  
  • • ผื่น 

Raltegravir (RAL) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Integrase inhibitor ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่ยังไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • • คลื่นไส้
  • • ปวดศีรษะ 
  • • ท้องเสีย
  • • อาการไข้ ตัวร้อน 
อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง

สรุปอาการข้างเคียงจากการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแร พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย 
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข
  • ดังนั้น ต้องมีการติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยมีการตรวจสุขภาพ และผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ ต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง
  • อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี  อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจาย และสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาต้านไวรัสเอไชวี (ARV) คืออะไร

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาต้านไวรัสเอดส์ (Antiretrovirals) http://mutualselfcare.org/medicine/medicative/antiretrovirals.aspx?M=k&G=a
  • ยาต้านเอชไอวี
    http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/bms_arvdrug.pdf
  • อาการข้างเคียงและอาการแพ้ยา
    https://www.mplusthailand.com/hivaids/ยาต้านไวรัส/อาการข้างเคียงและอาการ/

ความสัมพันธ์ของค่า CD4 กับ Viral load ในผู้ป่วยเอชไอวี

CD4 กับViral load ในผู้ป่วยเอชไอวี
CD4 กับViral load ในผู้ป่วยเอชไอวี

เมื่อเราติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว ไวรัสเอชไอวีจะเจาะเข้าไปในเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน เพื่อเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวี ทำให้ CD4 จำนวนลดลง  เมื่อ CD4  ลดลง ปริมาณ Viral Load เพิ่มขึ้น  เมื่อมีเชื้อเอชไอวี( HIV) อยู่ในร่างกายนานๆ  เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายมากขึ้นนั่นเอง

ค่า CD4 คืออะไร

CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells 

CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการจัดระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส

หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่า CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพียงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ในคนที่ร่างกายปกติก็มีเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือ CD4 เช่นเดียวกัน

เชื้อไวรัสเอชไอวี มีผลมาทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ที่สำคัญนี้โดยตรง จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่เป็นปกติเปิดโอกาสให้ภูมิคุ้มกันถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง ถ้าปล่อยไว้นานจนในที่สุดร่างกายจะไม่มี CD4 เซลล์มากพอที่จะต่อสู้ต้านทานเชื้อโรคและการติดเชื้อต่างๆ

ค่า VL หรือ Viral load คืออะไร

ค่า VL หรือ Viral load คือ ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือด 1 มิลลิลิตร (Cells/cu.mm) 

หากผู้ติดเชื้อเอชไวีกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะทำให้ปริมาณของเชื้อเอชไอวีในเลือด เหลือน้อยกว่า 50 ตัว (ก๊อปปี้) ต่อ 1 มิลลิลิตรของเลือด (Viral load < 50 copies/ml) ทางการแพทย์จะเรียกว่า เป็นสถานการณ์ ควบคุมไวรัสได้ เป็นการควบคุมไม่ให้เชื้อไวรัสก๊อบปี้ตัวเพิ่ม  นั่นแสดงว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี ในกระแสเลือด และของเหลวในร่างกายมีน้อยมากแล้วนั่นเอง

เมื่อไหร่ที่มีเชื้อเอชไอวีในเลือดสูง แสดงว่ายาที่ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีกิน ไม่สามารถควขคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ (มีการก๊อบปี้ตัวเพิ่มขึ้น)  เพราะว่ายิ่งมีเชื้อเอชไอวีในร่างกายมาก ก็ยิ่งทำให้จำนวนของ CD4 ลดลง จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น

Viral Load Test

Viral Load Test การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส

Viral Load Test คือ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ติดเชื้อว่าสามารถควบคุมปริมาณไวรัสไม่ให้มากเกินอยู่ในระยะปลอดภัยต่อสุขภาพได้หรือไม่  และใช้เป็นเครื่องมือประเมินผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสว่าสามารถลดจำนวนของไวรัสในกระแสเลือดลงได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่

หลักการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เชื้อเอชไอวีจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อเอชไอวีนั้นจะถูกสร้างโดย CD4 Cell  เมื่อเชื้อมีปริมาณมากเซลล์ CD4 Cell ก็จะต่ำ จึงควรเริ่มการรักษาก่อนที่ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลาย และนอกจากดูจำนวน CD4 Cell  แล้วก็ยังต้องดู viral load หรือปริมาณเชื้อที่อยูในกระแสเลือดด้วย หากพบ viral load มาก เชื้อในร่างกายก็จะมาก อวัยวะก็จะถูกทำลายมาก และเร็ว และที่สำคัญคือ อาจเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือจะต้องทำให้ปริมาณเชื้อ (viral load) ในร่างกายมีน้อยที่สุด  การรักษาจะใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา จำไว้ว่าหากเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาอย่าหยุดยาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยลำพัง ให้ปรึกษาแพทย์เสมอ เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยา

การเลือกใช้ยารักษาผู้ติดเชื้อ

ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ปริมาณเซลล์ CD4 และปริมาณเชื้อเอชไอวี (Viral load)
  • ประวัติการรักษาโรคติดเชื้อ HIV
  • ปริมาณยาที่ใช้และราคายา
  • ผลข้างเคียงของยา
  • การออกฤทธิ์ต้านกันของยาที่ใช้ร่วมกัน

เมื่อไรถึงจะเริ่มรักษา

จะเริ่มการรักษาเมื่อค่า CD4 ลดลง และมีปริมาณเชื้อเอชไอวีมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

  • กรณีการรักษาผู้ป่วยหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV ( Post-Exposure Prophylaxis ) ควรทำภายใน 72 ชั่วโมง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำขณะทำงานโดยที่เข็มนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วยติดเชื้อเอชๆอวี หลังสัมผัสเชื้อทันทีจะไม่สามารถใช้วิธีการเจาะเลือดหา viral load หรือ antigen หรือ antibody ได้ เพราะจะยังหาไม่พบ
  • การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ในกรณีของผู้ที่ร่วมเพศกับผู้ที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ยังไม่มีรายงานว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากแค่ไหน ดังนั้นผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการใช้ยา หากต้องใช้จะเป็นเวลานานแค่ไหน และผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
  • กรณี Primary Infection หมายถึง ภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั่งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ ช่วงระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยในระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
  • กรณีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ เป็นต้น
กินยาตามเวลาอย่างเคร่งครัด

การรักษา

ก่อนการรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวีในหลายแง่มุม รวมทั้งระยะของเชื้อ และอาการของโรค การดื้อยา ผลข้างเคียงของยา ราคายา การติดเชื้อโรคฉวยโอกาส เพื่อให้ผู้ติดเชื้อตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการรักษา และเมื่อผู้ติดเชื้อทำการรักษา แพทย์จะจ่ายยาที่เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อที่สุดเพื่อป้องกันการดื้อยา ผู้ติดเชื้อจะต้องปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์ และต้องกินยาตามเวลาอย่างเคร่งครัด เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลง ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้

เป้าหมายในการรักษา

เชื้อเอชไอี เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี จะทำให้เชื้อหยุด หรือชะลอการกลายเป็นโรคเอดส์  โดยมีเป้าหมายในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

  • เพื่อยืดอายุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในระยะยาว
  • หยุดการแบ่งตัวของไวรัสให้เหลือน้อยที่สุด(น้อยกว่า 50) และนานที่สุด
  • สามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพให้นานที่สุด
  • ลดผลข้างเคียงของยา

ข้อสำคัญคือผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะยาวโดยที่ไม่เกิดอาการ ทั้งที่ยังไม่ได้รักษา ดังนั้นผู้ป่วยบางรายยังไม่จำเป็นต้องรีบรักษาก็ได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์

การติดตามการรักษา

หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แพทย์จะนัดตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินสิ่งต่อไปนี้

  • ดูประสิทธิผลของยา หากได้ผลดี CD4-T และ viral load ควรจะอยู่ในเกณฑ์ดี
  • ผลข้างเคียงของยา และปัญหาเกี่ยวกับผู้ป่วย
  • ดูการดำเนินของโรคว่าเชื้อกลายไปเป็นโรคเอดส์หรือยัง
  • ดูว่ามีโรคฉวยโอกาสเกิดขึ้นหรือยัง
  • ดูแลสุขภาพทั่วไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?
ยาต้านไวรัสเอไชวี (ARV) คืออะไร

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ค่า CD4 กับ Viral load มีความสัมพันธ์กันอย่างไร http://www.bim100-th17.com/hivaics/CD4-กับ-Viral-load.html
  • Viral Load Test https://www.brianet.com/clinic/viral-load-test/
  • ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนในการรักษา https://www.caremat.org/การรักษาผู้ที่ติดเชื้อ/

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง?

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง
ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง

การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี  ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ หรือไม่เจอเชื้อ ก็เป็นการได้เริ่มต้นป้องกันตัวเองอย่างจริงจัง หรือถ้าตรวจเจอเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการรู้ตัวก่อนที่จะป่วยขึ้นมา เพื่อได้เข้าสู่กระบวนการรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ป่วยหรือ เสียชีวิตจากโรคเอดส์ อีกทั้งสามารถป้องกันคนที่เรารักและคนอื่นๆ ไม่ให้ติดเชื้อจากเราได้

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแบ่ง 2 ลักษณะ คือ ตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยัน

1. การตรวจคัดกรอง คือ การตรวจเพื่อกรองบุคคลผู้มีความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อเอชไอวี ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ตรวจง่าย รู้ผลรวดเร็วภายในไม่กี่นาที ซึ่งมีความแม่นยำสูง 

หากผลตรวจพบว่า มีโอกาสพบเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรดำเนินการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิกได้ทันที การตรวจแบบคัดกรองนี้ไม่สามารถยืนยัน หรือสรุปได้ว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี

2. การตรวจยืนยัน คือ การตรวจยืนยัน อีกครั้งหลังจาก คุณทำการตรวจคัดกรองมาแล้ว และพบว่ามีโอกาส ได้รับการติดเชื้อเอชไอวี 

ทำไมถึงต้องตรวจคัดกรองก่อน เพราะปัจจุบัน การตรวจยืนยัน ยังอาจใช้เวลานาน กว่าจะทราบผล และมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก ดังนั้นหากมีการตรวจคัดกรองมาก่อน ก็จะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วย ที่มีโอกาสพบเชื้อ กับผู้ที่ไม่มีโอกาสพบเชื้อ ให้สามารถเข้าสู่ระบบการตรวจรักษาได้เร็วขึ้น และลดภาระงาน ในการตรวจของเจ้าหน้าที่ได้มากขึ้น

ระยะเวลาในการตรวจเอชไอวี

ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง

การจะแพร่เชื้อได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร โดยเกณฑ์ที่ใช้เทียบเคียง คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้ และชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน สามารถตรวจได้ต่ำสุดตั้งแต่ 20-50 copies/ซีซีของเลือด

การตรวจเอดส์ไม่เจอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ จาก 2 กรณี ได้แก่

กรณีที่ 1 คือ ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางคนอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไปร่างกายยังไม่มีการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา ทำให้หากตรวจในระยะเวลาที่เร็วเกินไปอาจจะตรวจไม่เจอเอดส์ นั่นเอง 

ปัจจุบันวิธีการตรวจจะพัฒนาขึ้นมาก และสามารถตรวจได้เร็วสุดภายในหนึ่งสัปดาห์ ด้วยวิธีการตรวจแบบ NAT แต่หากตรวจด้วยวิธีอื่น ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่สมควรตรวจ คือ 30 วัน และควรตรวจซ้ำอีกทุก 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หรือตรวจอีกครั้งหลัง 3 เดือน ก็สามารถทำได้ แต่หากตรวจพบว่ามีโอกาสพบเชื้อตั้งแต่ครั้งแรก ให้รีบตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ทันที หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

กรณีที่ 2 คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว โดยรับประทานยาต้านไวรัสสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน ติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณไวรัสเอชไอวีอยู่ในเลือดต่ำกว่า 50 copies ต่อซีซีของเลือด ชุดทดสอบจึงตรวจไม่เจอ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เชื้อหมดจากร่างกายแล้ว เพียงแต่ทานยาต้านไวรัสต่อเนื่อง แต่หากหยุดทานยา เชื้อก็จะเพิ่มขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

ตรวจหาเชื้อ HIV มีโอกาสได้ผลผิดพลาดไหม?

มีโอกาสผิดพลาด คือ ได้รับผลการทดสอบเอชไอวีผิดพลาด จากการทดสอบที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามไปด้วย เพราะการทดสอบมีระยะเวลา 3-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ใครๆ ก็สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ไวรัสจะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดี ซึ่งหมายความว่าอาจมีคนติดเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลาดังกล่าว แต่จะไม่ปรากฏในการทดสอบแอนติบอดีจนกว่าจะผ่านไปนาน 6 เดือน

ตรวจเอดส์ไม่เจอ เท่ากับไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อแล้วหรือเปล่า?

  • ระยะเวลาในการตรวจนั้น เร็วเกินไป หลังไปเสี่ยงสัมผัสเชื้อมา  แนะนำให้ตรวจอีกรอบ เพื่อความมั่นใจ ในระยะที่น่าเชื่อถือ หรือระยะการตรวจเชื้อ หากไม่พบเชื้อถึงจะสรุปได้ว่าไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ
  • การกินยาต้านไวรัสที่ทานมาอย่างยาวนาน ออกฤทธิ์ไปกดเชื้อไว้ ไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้น ไม่ให้เชื้อทำอันตรายต่อร่างกายไปมากกว่านี้ ซึ่งการตรวจอาจจะไม่เจอเชื้อไวรัส แต่เชื้อไวรัสเอชไอวียังคงอยู่ในร่างกายไม่หายขาด สรูปก็คือเป็นผู้ติดเชื้ออยู่นั่นเอง
U=U จริงหรือไม่

U = U ตรวจไม่เจอเชื้อเอดส์ = ไม่แพร่เชื้อ จริงหรือไม่

U=U หรือ Undetectable = Untransmittable คือ ไม่เจอ = ไม่แพร่ ดังนั้นหากทำการตรวจไม่เจอเชื้อเอชไอวี ก็จะไม่สามารถถ่ายทอด หรือแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้

หากตรวจเลือดแล้ว ไม่เจอว่ามีการติดเชื้อ แลไม่ทำตัวเองให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้นอีกได้ การตรวจไม่เจอว่าติดเชื้อ ก็คือไม่แพร่เชื้อเช่นกัน แต่ถ้าหากมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ เช่น การไม่สวมถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือการใช้ PrEP หลังจากเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ก็ทำให้เป็นผู้ที่ไม่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ? http://www.thaihivhometest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ (Undetectable = Untransmissable, U = U) http://www.thaiaidssociety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=179&Itemid=90