HIV กับวิธีป้องกันในปี 2024

HIV Prevention 2024
HIV Prevention 2024

ในการต่อสู้กับ HIV อย่างยาวนาน การพัฒนาวิธีป้องกันนั้นมีบทบาทสำคัญในการลดอัตราการแพร่เชื้อและปรับปรุงสุขภาพของผู้คนโดยรวม ในปี 2024 การพัฒนาล่าสุดในกลยุทธ์ป้องกันเอชไอวีส่งผลกระทบต่อชุมชนทั่วโลกการดำเนินการต่อไปในการป้องกันเอชไอวี ในปี 2024 ต้องเน้นไปที่การเข้าใจและการรับรู้ของประชากรทั่วไปเกี่ยวกับความเสี่ยงและวิธีการป้องกันเอชไอวี การศึกษาและการแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ PrEP และ PEP มีความสำคัญอย่างมากเพื่อให้รับรู้ถึงตัวเลือกที่มีอยู่และสามารถทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เข้าใจเกี่ยวกับ HIV

Human Immunodeficiency Virus หรือเอชไอวี คือไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นปัญหาสำคัญในด้านสุขภาพทั่วโลก เมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย มันจะทำลายเซลล์ (CD4 cells) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อมีจำนวนของเซลล์ CD4 ลดลงมากพอ ร่างกายจะไม่สามารถต้านทานโรคและการติดเชื้ออื่น ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน :การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางในชายกับชายหรือชายกับหญิง เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
  • การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ:การมีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆนั้นทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสูงเนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าคู่ของเรามีเชื้อเอชไอวีหรือไม่ซึ่งนั่นทำให้เกิดความเสี่ยงมาก
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น :การใช้เข็มยาฉีดสารเสพติดร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีการล้างเข็มฉีดหรือใช้เข็มฉีดที่ไม่สะอาด
  • การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกระหว่างการคลอด :การตั้งครรภ์และการคลอดโดยแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้มีโอกาสส่งผ่านเชื้อไวรัสไปยังทารกได้

หากติด HIV แล้วควรทำอย่างไร

หลังจากที่คุณทราบว่าตรวจพบเชื้อเอชไอวี ควรพบแพทย์อย่างรวดเร็วเพื่อเริ่มการรักษาที่เหมาะสม การเริ่มรักษาอย่างรวดเร็วสามารถช่วยควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและลดความเสี่ยงในการเป็นโรค AIDS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยากลุ่ม Antiretroviral Therapy (ART) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่สำคัญสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ART ช่วยควบคุมการเจริญเติบของเอชไอวี และลดการส่งต่อเชื้อไวรัส และควรปฎิบัติตามวิธีการทานยาอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

HIV

การป้องกันเอชไอวีในปัจจุบัน

การใช้ถุงยางอนามัย

การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีการป้องกันที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุด ในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)

PrEP เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คู่ที่มีคู่สมรสที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือบุคคลที่มีกิจกรรมเพศที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งใช้ก่อนรับความความเสี่ยงและไม่มีเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

การตรวจ HIV

การตรวจเอชไอวีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น การทราบสถานะเอชไอวีของตนเองช่วยให้สามารถรับการรักษาได้ทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสให้แก่ผู้อื่น

PEP(Post-Exposure Prophylaxis)

PEP เป็นการให้ยาต้านไวรัส หลังจาก เหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี เช่น การโดนเข็มฉีดยาที่มีเลือดของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี การเริ่มรับยา PEP โดยเร็วหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรับรู้และการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธภาพ

การเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับเอชไอวี และการป้องกันมีความสำคัญในการลดการแพร่กระจายของโรค การศึกษาและการเข้าถึงบริการที่สะดวกสำหรับ PrEP และ PEP เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงการป้องกันและรักษาได้

HIV

ประโยชน์ของการป้องกัน HIV

ประโยชน์ของการป้องกันเอชไอวี ทำให้มีการติดเชื้อใหม่น้อยลง ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์สุขภาพทางเพศที่ดีขึ้นสำหรับแต่ละบุคคล เนื่องจากไม่ต้องพบกับภาวะทางร่างกายและอารมณ์จากการมีเชื้อเอชไอวี ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ โดยการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จะลดความจำเป็นในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี รวมถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) และการรักษาโรคที่เกี่ยวกับ AIDS จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้

อนาคตการป้องกันเอชไอวีจะเป็นอย่างไร

ความก้าวหน้าในการรักษาและการป้องกัน การรักษาด้วยยาต้านไวรัสยังคงเป็นหลักการในการรักษาเอชไอวีด้วยการศึกษาและพัฒนาต่อไป มีการใช้วิธีการรักษาใหม่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำเสนอการป้องกันไวรัสที่ดีกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยลง นอกจากนี้ แนวคิดของ “การรักษาเพื่อการป้องกัน” (TasP) ได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยเน้นความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยและเริ่มการรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายต่อไป

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันเอชไอวี

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันเอชไอวีมีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน โดยมีหลายวิธีที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ดังนี้:

  1. แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการส่งเสริมการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูล: การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันมือถือ หรือสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อการส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและการรักษาเชื้อไวรัส มีความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลและเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์
  2. การตรวจเอชไอวีแบบออนไลน์: เทคโนโลยีที่ทำให้สามารถส่งผลตรวจเอชไอวี แบบออนไลน์หรือผ่านแอปพลิเคชันได้ มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการสำหรับผู้คนที่อาจมีความไม่สะดวกหรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการแบบออนไซด์ได้
  3. การใช้แอปพลิเคชันสำหรับการติดตามและการเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึง PrEP: แอปพลิเคชันสามารถใช้เพื่อช่วยในการติดตามและจัดการการทานยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) ที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีนอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันที่จะช่วยในการเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับ PrEP และอื่นๆ
  4. การใช้แอปพลิเคชันเพื่อการค้นหาบริการทางการแพทย์: การใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการค้นหาบริการทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้และเป็นมิตรต่อกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด หรือบริการที่เชื่อถือได้สำหรับการตรวจเอชไอวีและรับการรักษาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวีและรวบรวมคลินิกบริการตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วประเทศไทย ทั้งหมดไว้ที่นี่ LOVE2TEST

การป้องกันเอชไอวีในปี 2024 ต้องการการร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม การเข้าใจและการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันที่มีอยู่ การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพการใช้งานแบบหลากหลาย มุ่งเน้นสู่ความสำเร็จ เริ่มจากมาตรการทางการแพทย์จนถึงกลยุทธ์เช่น PrEP และ TasP มีเครื่องมือหลากหลายให้ใช้งานในการต่อสู้กับการแพร่กระจายของเอชไอวี และการลดความความเสี่ยงโดยการกำจัดปัจจัยที่สร้างความเสี่ยง จะทำให้เราสามารถก้าวไปสู่อนาคตที่การติดเชื้อเอชไอวีน้อยลงและทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาและการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้

PrEP หนึ่งทางเลือกเพื่อป้องกันเอชไอวี

PrEP

การป้องกันการติดเชื้อ HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในที่ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่ง PrEP เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV เพร็พ นั้นเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดการถูกติดเชื้อ ในบทความนี้เราจะมาดูเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับ เพร็พและวิธีที่ช่วยให้ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PrEP คืออะไร?

เพร็พ ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis (ยาป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ) เป็นเครื่องมือปฏิวัติวงการในการต่อสู้กับ HIV ยาชนิดนี้ เมื่อรับประทานเป็นประจำ สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมาก ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้คนสามารถควบคุมและดูแลสุขภาพทางเพศของตนเองได้  เพร็พถูกใช้กับบุคคลที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV จุดมุ่งหมายหลักของมันคือการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มเสี่ยงสูง

prevent HIV

เพร็พ ทำงานอย่างไรเพื่อป้องกันเอชไอวี

ยาหลักที่ใช้ใน เพร็พ คือการรวมกันระหว่าง tenofovir และ emtricitabine หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Truvada โดยเมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของเม็ดยาวันละครั้ง ยาต้านเอชไอวีเหล่านี้จะทำงานโดยการยับยั้งการแพร่ของไวรัส HIV ภายในร่างกาย โดยการบล็อกเอนไซม์ที่สำคัญสำหรับการแพร่ของไวรัส ด้วยการขัดขวางสารตัวช่วยในการแพร่ของไวรัส เพร็พจะป้องกันไวรัส HIV ไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และทำให้ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะทำให้เส้นทางที่ไวรัสเข้ามาติดเชื้อไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ประสิทธิภาพของ เพร็พในการป้องกันเอชไอวี

การทดลองทางคลีนิกและการศึกษาในชีวิตจริงได้แสดงให้เห็นว่า เพร็พ สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HIV อย่างมีนัยสำคัญ การรับประทานอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปมีผลเห็นได้ชัดเจนในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ลงถึง 90% ของบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง เช่น

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM)
  • คนข้ามเพศ (transgender)
  • คนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่มีคู่นอนติดเชื้อ HIV

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาตามแพทย์สั่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ยาไม่สม่ำเสมอหรือไม่เป็นปกติอาจทำให้สูญเสียประโยชน์ในการป้องกันไวรัสได้

PrEP

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ PrEP

การรับประทานยา PrEP อย่างสม่ำเสมอ

เพร็พมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานทุกวัน ปัจจัยที่สำคัญสำหรับประสิทธิภาพของเพร็พ คือการทานยาอย่างต่อเนื่อง หรือการที่ผู้ใช้ เพร็พ ทานยาตามกำหนดเวลาและปริมาณที่กำหนด การทานยาไม่สม่ำเสมออาจส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของ เพร็พ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การสนับสนุนให้ผู้ใช้ เพร็พมีการทานยาอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย

ประสิทธิภาพของ เพร็พอาจมีความแตกต่างตามระดับความเสี่ยงในกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่นPrEP การป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก เช่น ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) อาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย การปรับปรุงการพิจารณาและการเข้าถึง เพร็พในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสำคัญเป็นเรื่องสำคัญ

การทำความเข้าใจและการศึกษา

ความเข้าใจในการใช้และการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมันมีผลต่อการยอมรับและการใช้งานเพร็พอย่างเหมาะสม การประชาสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและประโยชน์ของเพร็พ สามารถเพิ่มการใช้งานในสังคมได้

PrEP

เพร็พเป็นตัวกระตุ้นสำคัญสำหรับการป้องกัน

นอกจากผลกระทบต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของบุคคลเองแล้วเพร็พยังมีผลกระทบวงกว้างต่อการป้องกันการติดเชื้อ HIV ในระดับของสังคมไทย โดยการให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างเชิงรุก เพร็พ มีศักยภาพในการช่วยลดการติดเชื้อไวรัส HIV ที่มาจากการติดเชื้อใหม่ โดยสุดท้าย เพร็พ ยังมีความสำคัญในการรวม เพร็พ เข้ากับกลยุทธ์การป้องกัน HIV อื่นๆ เช่น

  • การใช้ถุงยางอนามัย
  • การตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ
  • การเข้าถึงการรักษาสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ทั้งหมดนี้มีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อการปิดฉากโรค AIDS ของโลก

ในการต่อสู้กับ HIV ที่ยังคงอยู่ เพร็พยังเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการต่อสู้กับเอชไอวีเพร็พมีศักยภาพที่จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเปลี่ยนแปลงเส้นทางของการต่อสู้กับโรคนี้ ด้วยความพยายามที่ เพร็พ สามารถเข้าถึงคนที่ต้องการอย่างเห็นได้ชัด และส่งผลกระทบต่อคนที่ต้องการมากที่สุด โดยการใช้ประสิทธิภาพของ เพร็พและการส่งเสริมแนวทางการป้องกันโรค HIV อย่างครอบคลุม เ

PrEP-PEP ยาต้านไวรัสเอชไอวี ลดเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

PrEP-PEP ยาต้านไวรัสเอชไอวี ลดเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี
PrEP-PEP ยาต้านไวรัสเอชไอวี ลดเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

สิ่งสำคัญของยาต้านไวรัสเอชไอวี คือ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อดอชไอวี ทั้งก่อนและหลังการสัมผัสเชื้อ หากพูดถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อที่ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี PrEP และPEP  ว่าทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี

PrEP และ PEP คืออะไร?

เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ หรือเป็นการใช้ยาเพื่อเตรียมตัวไว้ก่อนจะมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อ

เป๊ป (PEP- Post-Exposure Prophylaxis) คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบที่เพิ่งได้สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง

PrEP & PEP ทำงานอย่างไร?

กลไกของยา PrEP จะไปสะสมอยู่ในเม็ดเลือดขาวในเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอวัยวะที่เป็นช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนัก เยื่อบุอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ฯลฯ

เมื่อเชื้อเอชไอวี เข้าไปในร่างกายในช่องทางดังกล่าว เชื้อก็จะถูกยาที่สะสมอยู่ก่อนหน้านั้นยับยั้งไม่ให้แบ่งตัว จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ แต่ก่อนจะเริ่มกินยา PrEP ต้องมีการตรวจเลือดให้แน่ใจก่อนว่าไม่ได้ติดเชื้อมาก่อน หรือมีผลเลือดเป็นลบ และต้องตรวรค่าการทำงานของไต ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิต แต่กินยาเฉพาะช่วงที่คิดว่าจะตัวเองจะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ

กลไกของยา PEP จะช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายภายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

ประโยชน์ของ PrEP & PEP คืออะไร?

PrEP

ยาต้านไวรัสเอชไอวี แก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น PrEP สามารถให้ได้ทั้งในรูปยากิน หรือสารฆ่าจุลินทรีย์ในรูปเจลผสมยาต้านไวรัสใส่ในช่องคลอด หรือในทวารหนัก และห่วงบรรจุยาต้านใส่ในช่องคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ทันท่วงทีหลังการสัมผัสเชื้อ และเป็นการเพิ่มการป้องกันต่อการติดเชื้อเอชไอวี

PEP

ยาต้านไวรัสไอวีที่ช่วยลดโอกาสในการสร้างไวรัสเอชไอวีในร่างกายหลังจากที่ร่างกายได้รับการสัมผัสเชื้อ ซึ่งมาจากหลายรูปแบบ อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรืออุบัติเหตุจากการโดนเข็มฉีดยาตำ เป็นต้น

PrEP-PEP เหมาะกับใคร ใครบ้างที่ควรได้รับยา

PrEP & PEP เหมาะกับใคร ใครบ้างที่ควรได้รับยา

PrEP เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูง 

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำโดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงลงได้
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
  • ผู้มีคู่ผลเลือดบวกและคู่กำลังรอเริ่มยาต้านเอชไอวีอยู่หรือคู่ได้รับยาต้านเอชไอวีแล้วแต่ยังคงตรวจพบเชื้อไวรัสในเลือดอยู่ หรือะรอดูผลการรักษา
  • ผู้ที่มีคู่ผลเลือดบวกที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดที่กำลังฉีดอยู่หรือฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 6 เดือนรวมถึงผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่สวมถุงยางอนามัย และมีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับผู้ที่ไม่ทราบผลการติดเชื้อ HIV

PEP เหมาะสำหรับผู้ที่คาดว่ามีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี มาภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้ในกรณีดังนี้

  • ผู้ที่คิดว่าตนเองอาจสัมผัสกับเชื้อ HIV เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยกับผู้ที่ไม่ทราบผลการติดเชื้อ ถุงยางอนามัยฉีกขาด เป็นต้น
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดที่มีการฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 6 เดือน รวมถึงผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือน
  • บุคลากรสาธารณสุขที่ถูกเข็มฉีดยาของผู้ป่วยทิ่มตำ

จะรับ PrEP & PEP ได้อย่างไร

การรับ PrEP

  • งดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์ก่อนมารับ PrEP
  • ผู้มารับบริการจะต้องได้รับการตรวจเอชไอวี การทำงานของตับและไต 
  • หลังจากที่ได้รับยา PrEP ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน 
  • หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยา PrEP ทุกครั้ง

การรับ PEP

  • ก่อนที่ผู้รับบริการจะรับยา PEP แพทย์จะซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยา PEP หรือไม่ 
  • แพทย์จะสั่งตรวจเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับและไตก่อนรับยา PEP
  • หากติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถใช้ยา PEP ได้
  • หลังรับประทานยาครบ 28 วัน ตรวจเอชไอวีซ้ำ 1 เดือน และ 3 เดือน 
  • งดบริจาคเลือด และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

วิธีการกินยา PrEP & PEP

  • กินยา PrEP นี้เป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง แพทย์จะนัดทุก 3 เดือน เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา ถ้าไม่มีความเสี่ยงแล้ว สามารถหยุดได้หลังมีความเสี่ยงครั้งสุดท้าย 4 สัปดาห์
  • กินยา PEP ต้องได้รับทันที ห้ามเกิน 72 ชั่วโมง รับยาติดต่อกัน 28 วัน มีสูตรยาหลายสูตรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ผลข้างเคียงของยา PrEP & PEP 

  • PrEP  มีอาการคลื่นไส้และน้ำหนักลดหลังได้รับยาในระยะแรก ผลข้างเคียงระยะยาวพบได้น้อย ได้แก่ ผลต่อการทำงานต่อไต 
  • PEP มีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อิดโรย คลื่นไส้ และอาเจียน 

ข้อจำกัดของ PrEP & PEP  

  • ไม่สามารถปกป้องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ไม่สามารถปกป้องกลุ่มเสี่ยงได้ถ้าไม่รับประทานยาตามที่กำหนด
  • ไม่สามารถฆ่าเชื้อเอชไอวี หรือเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
PrEP-PEP ป้องกันจากการติดเชื้อเอชไอวีได้มากแค่ไหน

PrEP & PEP ป้องกันจากการติดเชื้อเอชไอวีได้มากแค่ไหน

การใช้ยา PrEP อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยกินต่อเนื่องทุกวันไปอย่างน้อย 7 วันก่อนที่จะมีความเสี่ยง จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 % ส่วนในกรณีของผู้ใช้ยาเสพติดแบบฉีด สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงได้ถึง 70%

การใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อ เอชไอวี หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งสิ้น 

ความเสี่ยงและข้อกังวลของ PrEP & PEP

  • ผู้รับการรักษาต้องไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี และต้องตรวจสุขภาพตามขั้นตอนทางการแพทย์ก่อนจึงจะสามารถรับยาได้
  • อาจทำให้ตรวจเจอเชื้อไวรัสได้ช้าลงในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในช่วงก่อนการใช้ยา
  • เป็นเพียงตัวช่วยเสริมการป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันได้ 100% จึงต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อกระดูกและไตได้
  • อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง อย่างอาการเวียนและปวดศีรษะ อ่อนแรง ซึ่งมักดีขึ้นได้เองในเวลานไม่นาน
  • ต้องรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน ก่อนจึงมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันไวรัสเอชไอวี
  • อาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดจึงควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ทุกครั้ง
  • ผู้ที่ทำงานดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอยู่เสมอ
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย เนื่องจากบางคนอาจไม่ทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ครั้งละหลายคนพร้อมกัน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดที่ทำให้เกิดอาการมึนเมา ขาดสติ ซึ่งอาจทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันได้
  • ใช้เข็มฉีดยาใหม่ทุกครั้ง และไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • หากมีพฤติกรรมเสี่ยง ควรไปพบแพทย์และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

ความแตกต่างระหว่างยา PEP และ PrEP

  • PrEP คือ ยาป้องกัน ก่อน การเสี่ยงในการได้รับหรือสัมผัสเชื้อเอชไอวี ทานวันละ 1 เม็ด ให้ตรงเวลา
  • PEP  คือ ยาฉุกเฉินทาน หลัง การเสี่ยงการได้รับหรือสัมผัสเชื้อเอชไอวี ภายใน 72 ชั่วโมง ทานวันละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 28 วัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รอบรู้เรื่องถุงยางอนามัย

เพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่ 

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • PrEP กับ PEP คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนใช้ https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/prep-กับ-pep-คืออะไร-ทำความเข้าใ/
  • PrEP กับ PEP http://wongkarnpat.com/viewya.php?id=2401
  • เพร็พ (PREP) ,เป็ป (PEP) คืออะไร https://th.trcarc.org/เพร็พ-prep-เป็ป-pep-คืออะไร/
  • ยาต้านไวรัส HIV อีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่อาจช่วยลดความเสี่ยง https://www.pobpad.com/ยาต้านไวรัส-hiv-อีกหนึ่งทา

รู้จักเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน

เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน
เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

รู้จักยา PEP คืออะไร

PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง

การทานยาเป๊ป(PEP) 

การทานยา เป๊ป(PEP) จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งถ้าทานยาหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล 

การทานยา เป๊ป(PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี แต่ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้เป็นสาเหตุของผู้ทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด

สาเหตุที่ต้องรับยาเป๊ป ( PEP )

ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน ในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และการรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป๊ป ( PEP )

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้
  • มีความถี่ในการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ให้บริการทางเพศบ่อย
  • มีการเข้ารับยาเป๊ป (PEP) บ่อยครั้ง
  • มีการตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

จะรับยาเป๊ป ( PEP )  มีขั้นตอนอย่างไร

หากคุณมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี

  1. ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
  2. หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP  จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
  3. เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  4. รับยากลับบ้าน

ยาเป๊ป ( PEP ) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์

การใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งสิ้น   

กินยาภายใน72ชั่วโมง

ต้องกินยาเป๊ป ( PEP ) นานแค่ไหน

การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจเอชไอวี อีกครั้ง

ยาเป๊ป ( PEP )  ฟรี 

การรับยา PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา

ยาเป๊ป ( PEP ) ซื้อที่ไหน

อย่างแรกก่อนการรับยาเป๊ป คุณจะต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียก่อน เป็นการยืนยันผลว่าคุณไม่ได้มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว เพราะถ้าหากคุณมีเชื้อเอชไอวี จะไม่สามารถใช้ยาเป๊ปได้ รวมถึงมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย การทานยาต้านฉุกเฉินนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อทานได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์ 

ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ ยาเป๊ป ( PEP )ได้ตลอดไหม

ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้เอชไอวี จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยา PEP (เป๊ป) ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน hiv คืออะไร ? อันตรายไหม ? https://www.bangkoksafeclinic.com/th/pepเป็บ/