เอชไอวี คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคเอดส์เสมอไป หากมีการติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกายผู้ติดเชื้อตลอดไป
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มียาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาได้เร็ว กินยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อเอชไอวีนี้ไปยังผู้อื่นได้ด้วย
ยาต้านไวรัส HIV คืออะไร
ยาต้านไวรัสเอชไอวี เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี
Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล HIV เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อ HIV สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)
ยาต้านหรือยารักษา HIV มีกี่แบบ
ปัจจุบันยาต้าน ยารักษา HIV หรือที่เรียกว่ายา Antiretroviral (ARV) นั้นที่ใช้กันนั้น ดังนี้
- Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (RTIs) มีกลไกลการยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase ซึ่งเป็นenzymeที่ไว้เปลี่ยน RNA ของเชื้อเป็น DNA เพื่อใช้ในการเข้าสู่ host cell ซึ่งส่งผลทำให้การเชื่อมต่อสารพันธุกรรมของเชื้อหยุดลง เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อไปได้ ยาในกลุ่มนี้เช่น AZT (Retrovir), DDI (Videx), DDC (Hivid), 3TC (Epivir), และ D4T (Zerit) enofovir disoproxil fumarate (TDF), Emtricitabine (FTC) เป็นต้น
- Protease inhibitors (PIs) มีกลไกรบกวนการทำงานของ Protease ซึ่งทำให้เชื้อไม่สามารถรวมโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ได้ เช่น Indinavir (Crixivan), Nelfinavir (Viracept), Ritonavir (Norvir), Saquinavir, Lopinavir+Ritonavir (LPV/r)
- Non-nucleoside reverse transcriptase Inhibitor (NNRTIs) มีกลไกของยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ Reverse transcriptase เช่นเดียวกับยากลุ่ม NRTIs มียาที่ใช้อยู่ เช่น Delavirdine (Rescriptor), Efavirenz (Sustiva), Nevirapine (Viramune) Efavirenz (EFV), Rilpivirine (RVP)
- Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) มีกลไลยับยั้งกระบวนการ integration โดยในยากลุ่มนี้จะยับยั้งการทำงานของ integrase ของเชื้อที่ใช้ในการเชื่อมสาย DNA ของตัวเชื้อเข้ากับ host cell ยาในกลุ่มนี้ เช่น Dolutegravir (DTG), Bictegravir (BIC)
ใครบ้างควรรับยาต้านไวรัส HIV
เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเอดส์ เซลล์ CD4 ลดลง มีปริมาณเชื้อมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณี ดังนี้
- การรักษาหลังสัมผัสโรคติดเชื้อHIV( Post-Exposure Prophylaxis) ผู้ที่ได้รับสัมผัสเชื้อภายใน 72 ชั่วโมง การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ โดยผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ให้ยา และจะให้ยานานแค่ไหน ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
- Primary Infection หมายถึงภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั้งภูมิต่อเชื้อHIV เพิ่มจนสามารถตรวจพบได้ ระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
- ผู้ที่ติดเชื้อHIV โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ แต่ก็มีคำแนะนำในการรักษาตามตารางข้างล่าง
ยาต้านไวรัส HIV รับได้ที่ไหน
ยาต้านไวรัส HIV ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา
ยาต้านไวรัส HIV ราคาเท่าไหร่
- Abacavir ราคา 840 – 1,500 บาท
- Darunavir ราคา 4,500 – 7,800 บาท
- Efavirenz ราคา 210 – 840 บาท
- Lamivudine ราคา 210 – 540 บาท
- Tenofovir 300/Emtricitabine ราคา 390 – 2,100 บาท
- PEP (30 tablets) ราคา 2,500 – 18,200 บาท
- PrEP (30 tablets) ราคา 1,000 – 3,200 บาท
ยาต้านไวรัส HIV ต้องทานตอนไหน และการปฏิบัติตัวหลังทานยาต้าน
การทานยาต้านแต่ละตัวนั้นมีความแตกต่างกันตามกลุ่มของยา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษาในการรับยาพิจารณาจากผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับยาสูตรใดชนิดใด
ซึ่งต้องใช้ตัวยาร่วมกัน 3 ชนิด หรือเรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) จะช่วยให้ผลการรักษาได้ดี ลดการเกิดเชื้อดื้อยา ลดอัตราการป่วยจากภาวะแทรกซ้อน และอัตราการเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก
แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญอย่างมากกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ยาต้านไวรัส HIV กับผลข้างเคียง มีดังนี้
- อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย
- อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข ดังนั้น ต้องติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด มารับการตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ถ้าพบอาการผิดปกติ เช่น ท้องอืด อาเจียน อ่อนเพลีย หมดแรง (อาการของภาวะกรดในเลือด) ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
- อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจายและสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ
หากรับประทานยาต้านไวรัสเป็นเวลา 6 เดือน ขึ้นไปแพทย์แนะนำให้ตรวจค่าการทำงานของตับและการทำงานของไตเนื่องจากยาต้านไวรัสส่งผลต่อการทำงานของตับและไต
ต้องทานยาต้านไวรัส HIV ไปตลอดไหม
ยาต้านไวรัสเพื่อให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว ใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แม้ว่าผลการตรวจเลือดของผู้ป่วยบางราย หลังจากทานยาต้านไวรัสเป็นเวลานาน จะพบเชื้อน้อยลงจนแทบไม่พบเชื้อ แพทย์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าหายขาดแล้ว ผู้ป่วยต้องทานยาต่อไปตลอดชีวิต และตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดูแลร่างกายของตัวเองให้ดี ไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงใดๆ ที่อาจมีผลต่อการรักษา ทานยาสม่ำเสมอในทุกวัน
การกินยาต้านไวรัส HIV ไม่ตรงเวลา
ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV กับการทานยาต้านให้ตรงเวลานั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยรักษาระดับยาจะให้คงที่ในกระแสเลือด ช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสไม่เพิ่มจำนวน ลดอาการผลข้างเคียง และลดโอกาสการดื้อยาที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ดังนั้นหากทานยาต้านไม่ตรงเวลา หรือขาดยา ก็อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล เชื้อไวรัส HIV ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเปลี่ยนยาไปใช้ในสูตรที่แรงการสูตรเดิมรวมทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือ ติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ทานยาต้านไวรัส HIV ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ไหม
สามารถทานยาต้านไวรัส HIV ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ปกติ แต่มียาต้านไวรัสบางกลุ่มที่ห้ามรับประทานพร้อมกับยากลุ่มอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น
- ยากลุ่ม RAL (Edurant) จะมีข้อบ่งชี้กับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ในกรณีต้องทานยา antacid ต้องทานยา antacid ก่อน 2 ชั่วโมง หรือถ้าต้องการทานตามหลังต้องทานหลังทานยา Edurant ไปแล้ว 4 ชั่วโมง และไม่ควรทานยากลุ่ม Omeprazole ยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phenobarbital, Phenytoin รับกับ Edurant
- ยากลุ่ม DTG (Trivicay) ยากลุ่มนี้ไม่ควรใช้ร่วมกับยากลุ่ม Metformin หรือคนไข้ในกลุ่มมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานที่รักษาด้วยยา Metformin
ปฏิกิริยาระหว่างยาต้านไวรัส HIV กับยาอื่น ( Drug-Drug Interaction )
ยาอื่นๆ ที่ใช้ร่วม อาจมีผลต่อระดับยาต้านไวรัส HIV ในเลือดได้ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเป็นพิษจากยาได้ หรืออาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นหากจะใช้ยาตัวอื่นๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
- ยาต้านเชื้อรา เช่น Ketoconazole, Itraconazole มีผลเพิ่มระดับยาต้านไวรัสในเลือด
- ยารักษาไมเกรน เช่น Ergotamine ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาต้านกลุ่ม PIs เช่น RTV , Kaletra ( LPV+RTV) เพราะจะมีผลเพิ่มระดับยา ergot อย่างรวดเร็ว อาจจะมีอาการตั้งแต่เริ่มแรกที่กินยา เช่น คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง เพลีย หน้ามืด ความดันตก ชา ปวดที่แขนขา โดยเฉพาะขา เกิดการขาดเลือด เพราะมีการไหลเวียนของเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าลดลง หรือถ้าเป็นที่สมองก็ทำให้ ชักหรือ อัมพาต ได้
- ยานอนหลับ เช่น Midazolam, Triazolam, Alprazolam และ Diazepam เพราะจะทำให้ยากลุ่มนี้มีระดับยาสูงขึ้นและทำให้ฤทธิ์ยานอนหลับยาวนานขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีปัญหาโรคตับด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับ ให้ใช้ยา Lorazepam แทน
- ยากันชัก เช่น Phenobarbitol, Phenytoin, Carbamazepine ลดระดับยาต้านฯ
บทความที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
- ยาต้านไวรัส HIV แบบป้องกันและฉุกเฉิน คืออะไร รับได้ที่ไหน https://www.bangkoksafeclinic.com/th/arv/
- ยาต้านไวรัสเอดส์ http://www.samrong-hosp.com/คัมภีร์การใช้ยา/ยาต้านไวรัสเอดส์