หูดข้าวสุก | Molluscum contagiosum

หูดข้าวสุก Molluscum contagiosum
หูดข้าวสุก Molluscum contagiosum

หูดข้าวสุก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum virus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกับที่ทำให้เกิดหูดทั่วไป เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั่วโลก และจะมีอัตราการเกิดมากขึ้นในประเทศเขตร้อน พบได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าไปในผิวหนังที่แตก ลอก หรือผิวหนังที่เป็นแผล และกลายเป็นหูดข้าวสุกได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน

การวินิจฉัยหูดข้าวสุก

หูดข้าวสุก สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจรอยโรคที่ผิวหนังด้วยตาเปล่า ซึ่งจะพบลักษณะเฉพาะคือ เป็นตุ่มที่มีรอยบุ๋มคล้ายสะดือตรงกลางรอยโรค แต่ในผู้ป่วยที่มีลักษณะของรอยโรคไม่ชัดเจน แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อที่รอยโรคเพื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยา หรือเพียงแต่ใช้เข็มเจาะหรือดูดเอาสารภายในรอยโรคมาย้อมสีด้วยเทคนิคทางการแพทย์ เพื่อตรวจหาก้อน Molluscum bodies ซึ่งจะเห็นเป็นสารสีส้มในสไลด์  ในรายที่มีหูดข้าวสุกขึ้นกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก หรือหูดข้าวสุกมีขนาดใหญ่ แพทย์อาจขอตรวจเลือดดูว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร่วมด้วยหรือไม่

ลักษณะอาการของหูดข้าวสุก

ลักษณะอาการของหูดข้าวสุก
  • เป็นตุ่มสีเนื้อที่ผิวหนัง ไม่มีอาการคันหรือเจ็บ ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
  • มักพบบริเวณใบหน้า แขน/ขา ในเด็ก และบริเวณอวัยวะเพศในผู้ใหญ่
  • ในรายที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง อาจมีอาการผื่นแดงคันบริเวณหูดข้าวสุกร่วมด้วย ซึ่งอาการผื่นแดงคันนี้ จะหายไปเมื่อทำการรักษาหูดข้าวสุก
  • ในผู้ป่วยโรคเอดส์ ปริมาณของหูดจะเกิดมากกว่าในคนที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคปกติ และมักดื้อต่อการรักษา
  • หูดข้าวสุกนั้น สามารถหายได้เองแม้ไม่ได้ทำการรักษาที่ระยะเวลาประมาณ 2-9 เดือน มีส่วนน้อยมากที่อาศัยเวลา 2-3 ปีจึงหาย

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นหูดข้าวสุก

ทุกคนสามารถมีโอกาศติดเชื้อไวรัส molluscum contagiosum แต่คนบางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อมากกว่าคนอื่น คือ

  • เด็กที่มีช่วงอายุ 1-10 ขวบ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยที่เป็นหูดข้าวสุก
  • นักกีฬาที่ต้องมีการสัมผัสโดยตรงทาง ร่างกายกับผู้อื่น
  • ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง  หรือโรคผิวหนังอื่น ๆ ที่เป็นผื่นแล้วต้องเกาบ่อย ๆ
  • ผู้ที่อยู่อาศัยในโซนเขตร้อน
  • ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ 

การป้องกันหูดข้าวสุก

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสรอยโรค การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นหูดข้าวสุก
  • ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เป็นประจำ
  • ไม่ใช้สิ่งของหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ออกกำลังกายเ็นประจำ รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การรักษาหูดข้าวสุก

การรักษา หูดข้าวสุก

ปัจจุบันหูดข้าวสุกไม่มียารักษาโดยตรงเฉพาะโรค เพราะสามารถหายได้เองแต่ใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งทางเลือกการรักษาช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค ได้แก่ การจี้ด้วยความเย็น เพื่อทำลายหูด ใช้อุปกรณ์ปลายแหลมบ่งตุ่ม หูดข้าวสุกและกดออก และใช้ยาทาเพื่อทำลายเซลล์ติดเชื้อหูดข้าวสุก แนะนำให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูล : medthai, ihealzy

หูดข้าวสุก เป็นหูดที่มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง และมีสารคล้ายข้าวสารอยู่ข้างใน ลักษณะเป็นรูปทรงโดมและเห็นเป็นจุดบุ๋มตรงกลาง คล้ายเม็ดสิวแต่ไม่มีการอักเสบ ถ้าบีบก็จะมีสารสีขาวข้นไหลออกมา จึงเรียกกันว่า “หูดข้าวสุก” แม้อาการอาจดูไม่ร้ายแรง แต่ก็สามารถนำพาความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้เช่นกัน แถมยังสร้างความรำคาญใจและไม่สะดวกในการใช้ชีวิตให้อีกด้วย ดังนั้น การป้องกันตัวเองจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส

พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส
พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนที่อาจทำให้คุณติดซิฟิลิส

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียชนิด Treponema pallidum มีระยะฟักตัวประมาณ 2 – 4 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน ชอบบริเวณที่มีความชื้น แพร่กระจายจากบุคคลต่อบุคคล ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทางช่องคลอด ช่องทางทวาร หรือช่องปาก โดยไม่ได้ป้องกัน หากไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ส่งผลต่อระบบประสาท หัวใจ สมอง ระบบต่างๆ ของร่างกาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดซิฟิลิส

มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางซิฟิลิส มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิส
 เปลี่ยนคู่นอนบ่อยการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสได้ เนื่องจากมีโอกาสมากขึ้น ที่จะมาติดต่อกับคนที่ติดเชื้อ
มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อซิฟิลิส หรือติดเชื้อโรคติดเชื้อทางเพศอื่นๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสให้เรามากขึ้น
 ใช้สารเสพติดชนิดฉีดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน สามารถทำให้ติดเชื้อซิฟิลิสได้เช่นกัน เพราะซิฟิลิสติดต่อกันได้ผ่านทางเลือด
มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่มีเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส สูงขึ้น

ซิฟิลิสแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 

ซิฟิลิสแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ 

ระยะแรก (Primary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง (chancre) อาจเป็นแผลเดียวหรือหลายแผล ไม่มีอาการเจ็บ ส่วนมากเกิดในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ช่องปาก ทวารหนัก ไส้ตรง แผลอาจคงอยู่ราว 3 ถึง 6 สัปดาห์แล้วหายเอง หากผู้ป่วยไมได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะที่สอง เนื่องจากแผลดังกล่าวไม่เจ็บและส่วนมากเกิดในที่ลับ ผู้ป่วยจึงอาจไม่ทันสังเกตเห็นก่อนที่แผลจะหายไป

ระยะที่สอง (Secondary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยมักมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้ารวมถึงอาจมีผื่นขึ้นที่ส่วนอื่นของร่างกาย ผื่นมีสีแดงน้ำตาล ไม่คัน อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า “ระยะออกดอก” ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ผมร่วง อ่อนเพลีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายไปเอง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการักษาโรคจะดำเนินเข้าสู่ระยะถัดไป

ระยะแฝง (Latent Stage Symptoms)

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ ได้นานหลายปี โรคซิฟิลิสในระยะนี้อาจตรวจพบได้จากการเจาะเลือดเท่านั้น

ระยะที่สาม (Tertiary Stage Symptoms)

ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะก่อนหน้านี้จะเข้าสู่ระยะที่สาม เชื้อโรคอาจทำลายหัวใจ สมอง ตา รวมถึงอวัยวะอย่างอื่น ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น อาการขยับแขนขาได้ลำบาก อัมพาต อาการชา ตาบอด โรคหัวใจ หรือเสียชีวิตได้ บางครั้งโรคนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Imitator) เนื่องจากทำให้มีอาการได้หลากหลาย คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ หลายโรค

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจทันที ซิฟิลิสอาจจะดูรุนแรง แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

การป้องกันซิฟิลิส

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • งดมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ตรวจคัดกรองสุขภาพทางเพศเป็นประจำ

การรักษาซิฟิลิส

การรักษาซิฟิลิส

ซิฟิลิส  เป็นโรคที่สามารถรักษาได้หายขาด ในกรณีที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อซิฟิลิส ดังนั้น หากคุณมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อซิฟิลิส ควรเข้ารับการตรวจทันที แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม การตรวจพบซิฟิลิส ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม และหยุดการลุกลามของโรคได้ ส่วนการใช้ยาและชนิดของยา จะขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและดุลยพินิจของแพทย์

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม

ถึงแม้ว่าซิฟิลิส สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะดีกว่าไหมหากเราป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่าการรักษาอย่างแน่นอน ดังนั้นควรป้องกันตัวเองอยู่เสมอ โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพสัมพันธ์ ตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพียงเท่านี้ซิฟิลิสก็เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป

ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม

ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม
ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม

หนองใน (Gonorrhoea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หนองในแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่ หนองในแท้ และ หนองในเทียม โดยจะแตกต่างกันตรงที่ สาเหตุของการติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อคนละชนิดกัน

  1. หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea ระยะการฟักตัวของโรคประมาณ 1 – 10 วัน
  2. หนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis ระยะการฟักตัวของโรค 10 วันขึ้นไป

อาการหนองในแท้ และ หนองในเทียม

  • อาการหนองในแท้ ในเพศชาย มีอาการปัสสาวะแสบขัด รวมทั้งมีหนองสีขาวขุ่นข้นไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ในช่วงแรกๆหนองอาจจะไม่ขุ่นเยอะแค่ไหน แต่ว่าถ้าหากไม่ได้รับการรักษาตะทำให้หนองขุ่นขึ้น
  • อาการหนองในแท้ ในเพศหญิง จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวปริมาณมากรวมทั้งมีกลิ่นเหม็นแรง มีการอักเสบที่ปากมดลูกและก็ท่อปัสสาวะหากไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้โรคลุกลามจนกระทั่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ สภาวะตันในท่อรังไข่ทำให้เป็นหมันหรือมีการท้องนอกมดลูก
  • อาการหนองในเทียม ในเพศชาย ระยะเริ่มต้นอาจจะแค่เพียงรู้สึกคันที่ท่อปัสสาวะ หรือมีน้ำใสๆต่อมาจะเริ่มข้นขึ้นแล้วไหลออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยหนองของโรคนี้จะไม่ข้นเท่าหนองในแท้
  • อาการหนองในเทียม ในเพศหญิง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นอย่างเห็นได้ชัด แต่มีแค่เพียงอาการคันและก็มีตกขาว อาจมีลักษณะของการปวดแสบร้อนขณะปัสสาวะร่วมด้วยซึ่งตรวจวิเคราะห์และก็รักษาได้ยาก

หนองใน อันตรายไหม?

หนองใน อันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถทำให้ต่อมต่างๆ บริเวณท่อปัสสาวะอักเสบ หรืออันตรายในเด็กทารกแรกเกิดที่อาจติดเชื้อจากมารดาขณะคลอดได้  และขึ้นอยู่กับความใส่ใจดูแลสุขภาพ หากละเลย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น โรคข้ออักเสบติดเชื้อจากหนองใน อีกทั้งยังจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิส ได้มากกว่าคนทั่วไป สามารถรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

ภาวะแทรกซ้อนในทารก

การได้รับเชื้อหนองในจากมารดา ระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการมองเห็นของทารกจนทำให้ตาบอด และเกิดการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกได้

ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย

หนองในที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้มีภาวะอัณฑะอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของท่อม้วนขนาดเล็กในส่วนหลังของลูกอัณฑะที่มีท่ออสุจิอยู่ โดยภาวะอัณฑะอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษานี้สามารถนำไปสู่การเกิดภาวะมีบุตรยากในที่สุด

ภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง

เชื้อหนองในสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก และท่อนำไข่ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อและอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพังผืดที่ท่อนำไข่ เสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก อาการปวดเชิงกรานระยะยาว ภาวะมีบุตรยาก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด เยื่อบุตาทารกอักเสบ เป็นต้น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานจึงถือเป็นการติดเชื้อชนิดร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

เสี่ยงต่อติดเชื้อเอชไอวีหรือเชื้อเอดส์

หนองในจะส่งผลให้ผู้ป่วยไวต่อการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นไวรัสที่นำไปสู่โรคเอดส์ และผู้ที่ติดเชื้อทั้งโรคหนองในแท้และโรคเอชไอวีจะสามารถแพร่กระจายโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ไปสู่คู่นอนของตนเองได้รวดเร็วกว่าปกติ

การติดเชื้อแพร่ไปยังข้อต่อและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

เชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของหนองใน สามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ส่งผลให้มีการติดเชื้อที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หนึ่งในนี้คือการติดเชื้อบริเวณข้อต่อซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บผิวหนัง ปวดข้อต่อ เป็นไข้ ผื่นขึ้น บวม และรู้สึกเมื่อยตามมา ทั้งนี้การติดเชื้อบางบริเวณยังอาจเป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดหนองใน

  1. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. ผู้ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  4. ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  5. ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

การป้องกันหนองใน

  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือการงดมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด (ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก)
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ
  • หากมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

เป็นหนองในรักษาหายไหม?

หนองใน สามารถรักษาหายได้ แต่ถ้าหากรักษาจนหายแล้ว เบื้องต้นผู้ที่เคยเป็นหนองในต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นหนองในซ้ำอีกได้

การรักษาหนองใน

การรักษาหนองใน

หนองใน รักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporin และ Quinolone อาจเป็นชนิดรับประทานหรือชนิดยาฉีด ยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Cefixime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Ofloxacin, Levofloxacin ทั้งนี้ การรักษาหนองในจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยที่จะต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตน รวมทั้งตรวจซ้ำตามแพทย์แนะนำ

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหนองใน

  • งดมีเพศสัมพันธ์รวมถึงสำเร็จความใคร่จนกว่าจะรักษาหาย
  • พาคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ไปตรวจหาเชื้อหนองใน
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และทำให้แห้งอยู่เสมอ 
  • ไม่ควรรีดหนองด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบจน
  • เข้ารับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำสั่งแพทย์
  • รีบพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
  • ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง 
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • หากได้รับการรักษาแล้ว แต่มีอาการที่คล้ายกับว่าจะแพ้ยา ควรรีบไปพบแพทย์
  • เมื่อรักษาตามอาการจนครบแล้ว ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าเชื้อหนองในหายสนิท

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์..ภัยร้ายอันตรายถึงชีวิต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภัยร้ายอันตรายถึงชีวิต
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภัยร้ายอันตรายถึงชีวิต

“โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” ติดต่อระหว่างผู้มีเชื้อกับผู้รับเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ปัญหาหลักของโรคเหล่านี้ คือ ผู้ป่วยมักทราบว่าตนเองมีความผิดปกติเมื่อเวลาผ่านไปนานแล้ว บางคนก็เพิกเฉยต่ออาการเหล่านั้น หรืออายที่จะเข้ารับการรักษากับแพทย์

สาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดไม่มียารักษา และบางชนิดยังสามารถฝังตัวอยู่ และกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
  • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • เกิดจากเชื้ออื่น ๆ เช่น พยาธิ สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง ?

หนองใน (Gonorrhoea) 

หนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ และมีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา

หูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata)

หูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัส Human papillomavirus ลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อน ๆ สีชมพูคล้ายหงอนไก่ ในผู้ชายมักพบที่อวัยวะเพศบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตลอดทั้งบริเวณรอบรอยเปิดขอบ, ท่อปัสสาวะ และอัณฑะ ส่วนผู้หญิงจะพบที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนักและฝีเย็บ หูดมีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ

ซิฟิลิส (Syphilis)

ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum เป็นโรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี ลักษณะการติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็ง แต่ไม่เจ็บที่บริเวณอวัยวะเพศ หากไม่รักษาจะกลายเป็นระยะที่สองที่เรียกว่า เข้าข้อหรือออกดอก ถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดโรคแก่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายหลายระบบ

เริมที่อวัยวะเพศ (Genita Herpes)

เริมที่อวัยวะเพศ เกิดเชื้อไวรัส herpes simplex virus ทำให้เกิดอาการปวดแสบบริเวณขา ก้นหรืออวัยวะเพศ และตามด้วยผื่นเป็นตุ่มน้ำใส แผลหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ แต่เชื้อยังอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกลับเป็นใหม่

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)

หูดข้าวสุก เกิดจากเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum virus (MCV) ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง ผิวเรียบขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร จะพบมากขึ้นในรายที่มีการติดเชื้อ HIV จำนวนตุ่มที่เกิดขึ้นอาจมีมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยขณะนั้น ว่าร่างกายมีความแข็งแรงเพียงใด

โลน (Pediculosis Pubis)

โลน เกิดจากแมลงตัวเล็กที่เรียกว่า pediculosis pubis อาศัยอยู่ที่ขนหัวหน่าว ชอบไชตามรากขนอ่อน และดูดเลือดคนเป็นอาหาร ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการคัน เมื่อเกาจะทำให้เชื้อแพร่ไปยังบริเวณอื่นได้ ติดต่อได้จากการสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย หรือใช้กางเกงชั้นในร่วมกัน

เอดส์ (AIDS)

เอดส์ เกิดจากการรับเชื้อ Human immunodeficiency virus หรือ HIV เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และสาเหตุการเสียชีวิตก็มักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่จะทำให้อาการรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์ ?

  • ในผู้ชาย ปัสสาวะแสบขัด ขาหนีบบวม เป็นฝี เจ็บปวดอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีเมือกใสหรือหนองไหลออกมา
  • ในผู้หญิง รู้สึกเจ็บเสียวท้องน้อย ขาหนีบบวม เป็นฝี เจ็บปวด คันอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่นเหม็น
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ต้องรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
  • แจ้งคู่นอนให้ทราบว่า เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น
  • รักษาอาการ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลาม
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของมึนเมาทุกชนิด
  • ไม่ควรซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์                                                      
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการเกิดโรค
  • ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี
  • รักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ                      

ขอบคุณข้อมูล : Tumboltasai ,Kapook

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม