รู้จัก HIV และวิธีป้องกัน

รู้จัก HIV และวิธีป้องกัน

ไวรัสเอชไอวี หรือ Human Immunodeficiency Virus (HIV) เป็นไวรัสชนิดที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ โดยเฉพาะเซลล์ CD4 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ ตลอดเวลา หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาไวรัสเอชไอวี อาจทำให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายอย่างรุนแรง และไม่สามารถต่อต้านการติดเชื้อได้ ในขณะที่คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงจะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ได้ดีกว่า การศึกษาและ รู้จัก HIV จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

รู้จัก HIV และวิธีป้องกัน

รู้จัก HIV ว่าติดต่อผ่านช่องทางไหน

ไวรัสเอชไอวี สามารถติดต่อได้ผ่านสารคัดหลั่งของมนุษย์ เช่น เลือด อสุจิ น้ำนม น้ำหล่อลื่น น้ำในช่องคลอด วิธีการแพร่เชื้อที่พบบ่อย คือ

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • การมีเพศสัมพันธ์ช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปากกับผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยไม่ได้ป้องกัน
  • การใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์เสพยาอื่นๆ กับผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือคนอื่นหลายคน
  • การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ ในช่วงคลอด หรือแม้แต่การให้นมบุตร (กรณีพบได้น้อย)
  • การบริจาคเลือด หรืออวัยวะภายในร่างกาย จากผู้บริจาคที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งไม่ผ่านการคัดกรอง

เมื่อรู้จัก HIV ว่าติดเชื้อผ่านทางไหนได้บ้าง ก็ต้องรู้ด้วยว่าการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไม่สามารถติดต่อได้ ผ่านการสัมผัส การกอด การจับมือ การทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

รู้จัก HIV ว่ามีอาการอย่างไร

เนื่องจากอาการที่ปรากฏหลังจากติดเชื้อไวรัสเอชไอวี อาจเป็นไปได้หลายรูปแบบ และอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของอาการ ระยะเวลา และระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเอง ซึ่งหลังจากติดเชื้อแล้วอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่:

  • มีผื่น หรือตุ่มบนผิวหนัง
  • มีแผลในปาก หรือทางเดินอาหาร
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้าหรือไม่มีเรี่ยวแรง
  • มีอาการท้องเสีย หรือปวดท้องบ่อย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง
  • มีอาการป่วยคล้ายคนเป็นไข้หวัด มีไข้ หนาวสั่น มีน้ำมูก ไอและเจ็บคอ

ระยะอาการของเอชไอวี

การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ คือ

  • ระยะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแบบเฉียบพลัน (Acute HIV Infections) : ซึ่งเป็นระยะแรกของการติดเชื้อ ที่จะเกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์ จะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น เจ็บคอ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหัว และมีผื่นขึ้น ฯลฯ
  • ระยะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแบบเรื้อรัง (Chronic HIV Infection) : จะเป็นระยะที่เชื้อไวรัสเอชไอวีอาศัยอยู่ภายในร่างกาย โดยที่ไม่แสดงอาการ หรืออย่างมาก ก็มีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งในระยะนี้ เชื้อไวรัสเอชไอวีจะมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับต่ำ และมักจะแฝงตัวอยู่อย่างยาวนาน ในระยะเวลาถึง 10 ปี หรือสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีบางราย อาจจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย
  • ระยะ โรคเอดส์ (AIDS) : เป็นการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในขั้นสุดท้าย เกิดในเฉพาะกับผู้ที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยผู้ป่วยโรคเอดส์นั้น จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายจะถูกทำลายลงอย่างรุนแรง จนทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อฉวยโอกาส และเกิดโรคร้ายแทรกซ้อนได้ง่าย

วิธีป้องกัน HIV ทำได้อย่างไรบ้าง

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดก็ตาม
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ กับคนที่ไม่ใช่แฟน สามี ภรรยา หรือกับคนที่ไม่รู้จัก
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยา หรือกระบอกฉีดยา ร่วมกับคนอื่น
  • ตรวจเลือดก่อนการแต่งงาน เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของทั้งคู่ ไม่มีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
  • รับการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองเชื้อไวรัสเอชไอวีอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
  • หากมีแผลเปิดหรือแผลสดควรระมัดระวัง ไม่ให้แผลสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคู่นอน
  • ใช้ยาเพร็พ ยาป้องกันเชื้อเอชไอวี (Pre-Exposure Prophylaxis : PrEP) ก่อนการสัมผัสโรค
  • ใช้ยาเป็ป ยาต้านเชื้อเอชไอวี (Post-Exposure Prophylaxis : PEP) หลังการสัมผัสโรค

การทำการตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี ก่อนที่จะแต่งงาน สามารถมีประโยชน์หลายอย่างได้รวมถึง:

รู้จัก HIV ป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี

การปกป้องสุขภาพของคุณ

เชื้อไวรัสเอชไอวีเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายยากต่อการต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคต่างๆ หากคุณติดเชื้อเอชไอวี การตรวจพบและรักษาโรคในระยะเริ่มต้น สามารถช่วยให้คุณจัดการโรคได้และป้องกันการเกิดภาวะโรครุนแรง การทราบสถานะเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะแต่งงานสามารถช่วยปกป้องสุขภาพของคุณและสุขภาพของคู่ของคุณได้

การปกป้องสุขภาพของคู่ของคุณ

หากคุณติดเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ไม่เปิดเผยสถานะของคุณให้คู่ของคุณทราบก่อนที่จะแต่งงาน อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของพวกเขาได้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีให้กับคู่ของคุณ การทำการตรวจเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะแต่งงานสามารถช่วยให้คุณมั่นใจว่าคุณไม่ได้เปิดเผยเชื้อไวรัสต่อคู่ของคุณโดยไม่รู้ตัว

รู้จัก HIV ป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี

การรู้สถานะเชื้อเอชไอวีของคุณสามารถช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ด้วย หากคุณติดเชื้อเอชไอวี คุณสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อผู้อื่นได้ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยระหว่างกิจกรรมทางเพศ และการรับประทานยาต้านเอชไอวีเพื่อลดปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกายของคุณ

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อาการตกขาว ผิดปกติของผู้หญิง

เพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นไปได้หรือไม่

สรุปมาแล้วว่า การทำการตรวจเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะแต่งงานสามารถช่วยปกป้องสุขภาพของคุณและคู่ของคุณได้ และป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น นี่เป็นขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจที่รับผิดชอบ และมีการตัดสินใจอย่างมีสติ การรู้จัก HIV และโรคเอดส์ทำให้คุณได้มีความรู้ว่าโรคเหล่านี้ สามารถมีผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ของบุคคลได้โดยสิ้นเชิง การละเมิดและมีอคติต่อผู้ติดเชื้อ HIV ยังคงมีอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งอาจป้องกันผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลือ และการสนับสนุนที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และร่วมรักษาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการดูแล และทรัพยากรที่ต้องการได้โดยไม่มีการกีดกันครับ

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

เอชไอวีเป็นเชื้อที่มีความร้ายแรง และน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการไหน หรือยาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ทั้งยังในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้คนส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจ การติดเชื้อเอไอวีนั้น สามารถติดต่อกันได้โดยง่าย จนทำให้คนหลายคนมีความกังวล เมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้ผ่านทางใดได้บ้าง เพื่อการปฏิบัติตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

เอชไอวี (HIV) คืออะไร?

เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร ?

เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำนม อสุจิ น้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย รวมถึงของเหลวในช่องคลอด และทวารหนัก คนทั่วไปติดเชื้อเอชไอวีได้ หากสารคัดหลั่งเหล่านี้สัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผล หรือบริเวณเยื่อเมือกบุผิวภายในทวารหนัก ช่องคลอด องคชาติของเพศชาย และในช่องปาก

โดยมีสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีดังนี้

สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัยป้องกัน หรือรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี การร่วมเพศทางทวารหนักกับผู้ติดเชื้อโดยเป็นฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงสูงสุด แต่ฝ่ายรุกก็ติดเชื้อได้เช่นกัน ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดนั้น มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งฝ่ายรับ และฝ่ายรุกไม่ต่างกัน ทั้งนี้ ฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะเสี่ยงมากกว่าฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด

ถ้าไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิงก็ตาม จะเป็นช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ได้ทั้งนั้น  เพราะส่วนใหญ่แล้ว 80% ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะรับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์

  • การใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์เตรียมฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วได้นานถึง 42 วัน หากมีอุณหภูมิและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะพบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้เสพยาแบบฉีดยาเข้าเส้น

สาเหตุที่อาจพบได้บ้าง ได้แก่

  • การที่แม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายมี โอกาสสูงมากที่จะแพร่เชื้อ และถ่ายทอดเชื้อ ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด หลังคลอด หรือผ่านการให้นมบุตร โดยจะมีความเสี่ยงสูง หากแม่ไม่ได้รับประทานยา สำหรับรักษา หรือยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี  หากมีครรภ์แล้วควรปรึกษาคุณหมอ และอยู่ในความดูแลของคุณหมอ โดยที่คุณก็จะสามารถตั้งครรภ์ ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่ และลูก เพราะปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปไกลจนได้มีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ด้วยการทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพียงร้อยละ 8% 
  • ผู้ที่ทำงานกับอุปกรณ์ที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเอชไอวี เช่น เข็มฉีดยา หรือของมีคม 

สาเหตุที่พบได้น้อยมาก ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก (oral sex) เป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากว่าฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อเอชไอวีปะปนมา เข้าไปภายในช่องปากของคู่นอน ขณะที่มีการทำ oral sex ซึ่งหากฝ่าย ที่ใช้ปากมีบาดแผลอยู่ภายในปาก ก็จะทำให้ได้รับความเสี่ยงนี้
  • การปลูกถ่ายอวัยวะหรือการบริจาคเลือด ปัจจุบันต้องมีการคัดกรองผู้บริจาคเลือด หรือผู้ที่บริจาคอวัยวะอย่างเข้มงวดมากขึ้น ก่อนที่จะนำมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วย โดยทำการตรวจสอบหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งทุกครั้งก่อนนำไปใช้ เพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้
  • การรับประทานอาหารที่ผ่านการเคี้ยวจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากจะเกิดการปนเปื้อนเชื้อได้หากมีเลือดของผู้ป่วยอยู้ในอาหาร แต่หากผู้ป่วยไม่มีเลือดออกในปากขณะเคี้ยวก็รับประทานอาหารต่อจากผู้ป่วยได้ โดยการติดเชื้อลักษณะนี้พบในทารกเท่านั้น ถึงแม้ความเสี่ยงนี้จะต่ำ แต่ก็ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
  • การถูกกัดโดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ต้องเป็นการกัดที่รุนแรงจนมีเลือดไหล หรือเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังเท่านั้น 
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในสารคัดหลั่ง ซึ่งสามารถเข้าทางบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกภายในช่องปาก
  • การจูบแบบเปิดปาก หากว่าทั้งสองฝ่ายมีบาดแผลภายในช่องปาก หรืออาจจะมีเลือดออกตามไรฟัน  โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี อีกฝ่ายอาจทำให้อีกฝ่ายติดเชื้อเอชไอวีได้ ถึงแม้เชื้อเอชไอวีนั้นไม่ติดต่อกันผ่านทางน้ำลายก็ตาม
  • การสักหรือการเจาะตามร่างกายอาจส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หากได้มีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด โดยการใช้เข็มสักหรือมีการเจาะร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงการใช้หมึกในการสักร่วมกับผู้อื่น หากต้องการสักหรือเจาะร่างกาย ควรสังเกต หรือเลือกร้านที่มีการทำความสะอาด และสุขอนามัยของร้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเข็มสัก หมึกที่ใช้ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งยังควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าร้านดังกล่าวมีใบรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุข
  • การกัด การเกา หรือการบ้วนน้ำลาย ปกติแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่อาจแพร่เชื้อผ่านการกัด หรือการบ้วนน้ำลายได้ เนื่องจากในน้ำลายไม่มีเชื้อเอชไอวี ทว่าหากผู้ป่วยมีแผลในปาก หรือมีเลือดออกตามไรฟัน และกัดผู้อื่นจนผิวหนังฉีกขาด อาจทำให้บุคคลดังกล่าวเสี่ยงติดเชื้อได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ส่วนการเกาผิวหนังนั้นไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นเช่นกัน หากไม่ได้เกาอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลมีเลือดออกหรือทำให้สารคัดหลั่งของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกาย ทางที่ดีผู้ป่วยและผู้ดูแลควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดนเลือดของผู้ติดเชื้อโดยไม่ตั้งใจ

เอชไอวีป้องกันได้ หากระมัดระวัง

การติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด จึงควรป้องกันโดยเอาใจใส่พฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยมากขึ้น เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หมั่นตรวจเอชไอวีเป็นประจำ รวมทั้งรักษาสุขอนามัยโดยหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสเอชไอวี หากเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อติดเชื้อเอชไอวี 

ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้น ควรรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลา เพราะนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแบบนี้ ต้องตรวจเอชไอวีหรือไม่

อาการเอชไอวี ตรวจเอชไอวี ตรวจเลือด ไวรัสเอชไอวี อาการเอดส์ โรคเอดส์ ยาต้านไวรัส ตรวจ HIV ฟรี

หลายคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ยังไม่ตัดสินใจไปตรวจเลือด เนื่องจากรอให้เกิดอาการเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปตรวจ ความจริงแล้ว เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ใครบ้างที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ เพราะไม่สามารถสังเกตจากอาการที่เป็น หรือรูปร่างลักษณะได้เลย เราจึงแนะนำได้ว่า ถึงแม้จะไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม หากมีความเสี่ยงว่าคุณอาจจะติดเชื้อ คุณควรทำการตรวจคัดกรองไวรัสเอชไอวีทันที

การตรวจเอชไอวี เป็นวิธีเดียวที่ทำให้รู้ว่า คุณติดเชื้ออยู่หรือไม่ รวมทั้งช่วยลดความวิตกกังวลลงไปได้เป็นอย่างมาก เพราะหากคุณไม่มีเชื้อ คุณจะได้หันมาดูแลสุขภาพของตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง และเพิ่มการป้องกันให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น แต่หากคุณติดเชื้อ คุณจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว เริ่มทานยาต้านไวรัสเอชไอวีทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการของโรคเสียก่อนจะสายเกินแก้นะครับ

อาการโรคเอดส์ ระยะเฉียบพลัน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ป้องกันเอดส์ ตรวจเอชไอวี เอดส์ระยะแรก

อาการระยะเฉียบพลันของเชื้อเอชไอวี

ในบางรายพบว่า มีอาการระยะเฉียบพลัน ซึ่งเป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี มักจะเกิดขึ้นประมาณ 14-30 วันหลังจากได้รับเชื้อ อาการเฉียบพลัน ได้แก่

  • มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ท้องเสีย
  • รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อต่าง ๆ อ่อนเพลีย
  • มีผื่นขึ้น และเหงื่อออกเยอะในตอนกลางคืน
  • มีแผลในช่องปาก มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ

โดยอาการเหล่านี้จะสามารถหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเพราะร่างกายตอบสนองต่อเชื้อเอชไอวีนั่นเอง ช่วงเวลานี้มีความเสี่ยงสูงที่เชื้อจะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ต่อมาภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเข้าควบคุมปริมาณของไวรัสเอชไอวีให้อยู่ในระดับคงที่ จากระยะเฉียบพลันนี้เป็นระยะสงบ หรือเรียกว่าระยะติดเชื้อเรื้อรัง โดยจะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นเลย จากระยะนี้ อาจส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนเข้าสู่ระยะต่อไปของโรคเอดส์ได้ หากไม่ได้ทำการรักษาทันที ใช้เวลา 7-8 ปี หรือในบางรายนานถึง 10 ปีเลยทีเดียวครับ

ตรวจเอชไอวีได้เลย ไม่ต้องรอให้มีอาการ

ยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่เข้าใจว่าไม่มีอาการก็แสดงว่ายังไม่ติดเชื้อเอชไอวี แถมบางคนยังมีความเสี่ยงสูงแต่ก็ไม่ฉุดคิดว่าตัวเองจะมีโอกาสติดเชื้อได้ เพราะคิดว่าความเสี่ยงน้อย หรือยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีได้ไม่มากพอ ทั้งที่ปัจจุบันยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นอายุประมาณ 15-25 ปี

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี ?

  1. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ แบบไม่ป้องกัน ไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  2. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ แล้วถุงยางอนามัยแตกรั่ว
  3. ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  4. ผู้ที่ไม่เคยตรวจเอชไอวีเลย หรือผู้ที่เคยตรวจครั้งสุดท้ายมากกว่า 3-6 เดือน
  5. ผู้ที่ใช้สารเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้น
  6. บุคลากรทางการแพทย์ถูกเข็มทิ่มตำโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น

ถ้าผู้ติดเชื้อรู้ตัวเร็ว ก็สามารถรักษาได้แม้จะไม่ถึงกับหายขาดจากไวรัสเอชไอวีไปเลย แต่ก็ไม่ทำให้เจ็บป่วย หรือเกิดโรคแทรกซ้อน การรักษาเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสจะช่วยให้การเพิ่มจำนวนของเชื้อลดน้อยลง ประกอบกับการปฏิบัติตนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน

เอชไอวี เอดส์ โรคเอดส์ ซิฟิลิส หนองใน อาการเอดส์ วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์ เอดส์มีกี่ระยะ

เพราะเอชไอวี ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ปัจจุบันมีการพัฒนาตัวยาใหม่ ๆ ที่ช่วยกดเชื้อไวรัสเอชไอวีให้ไม่ขยายตัวเพิ่ม และทำร้ายภูมิคุ้มกันของเรา ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวียังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ ยังทำงาน หรือแม้แต่มีครอบครัว มีลูกได้ พวกเขาไม่ต้องเผชิญกับความน่ากลัวของโรคอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจผิด

การที่เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจเอชไอวี มองให้เป็นเหมือนการตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อได้ การตรวจเอชไอวี เป็นเรื่องที่มีแต่ประโยชน์ และทุกคนควรจะตรวจเช็คด้วยความภาคภูมิใจ ไม่ต้องเขินอาย หรือหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะนี่จะเป็นวิถีที่ทำให้สังคมลดการรังเกียจและตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากทุกคนต่างตรวจเลือดกันเป็นปกติ รวมทั้งการรู้สถานะเอชไอวีของตัวเองนั้นยังนำไปสู่การป้องกันโรคเอดส์ไปได้ตลอดทั้งชีวิตเลยด้วยครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ