ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม

ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม
ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม

หนองใน (Gonorrhoea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หนองในแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่ หนองในแท้ และ หนองในเทียม โดยจะแตกต่างกันตรงที่ สาเหตุของการติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อคนละชนิดกัน

  1. หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea ระยะการฟักตัวของโรคประมาณ 1 – 10 วัน
  2. หนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis ระยะการฟักตัวของโรค 10 วันขึ้นไป

อาการหนองในแท้ และ หนองในเทียม

  • อาการหนองในแท้ ในเพศชาย มีอาการปัสสาวะแสบขัด รวมทั้งมีหนองสีขาวขุ่นข้นไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ในช่วงแรกๆหนองอาจจะไม่ขุ่นเยอะแค่ไหน แต่ว่าถ้าหากไม่ได้รับการรักษาตะทำให้หนองขุ่นขึ้น
  • อาการหนองในแท้ ในเพศหญิง จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวปริมาณมากรวมทั้งมีกลิ่นเหม็นแรง มีการอักเสบที่ปากมดลูกและก็ท่อปัสสาวะหากไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้โรคลุกลามจนกระทั่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ สภาวะตันในท่อรังไข่ทำให้เป็นหมันหรือมีการท้องนอกมดลูก
  • อาการหนองในเทียม ในเพศชาย ระยะเริ่มต้นอาจจะแค่เพียงรู้สึกคันที่ท่อปัสสาวะ หรือมีน้ำใสๆต่อมาจะเริ่มข้นขึ้นแล้วไหลออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยหนองของโรคนี้จะไม่ข้นเท่าหนองในแท้
  • อาการหนองในเทียม ในเพศหญิง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นอย่างเห็นได้ชัด แต่มีแค่เพียงอาการคันและก็มีตกขาว อาจมีลักษณะของการปวดแสบร้อนขณะปัสสาวะร่วมด้วยซึ่งตรวจวิเคราะห์และก็รักษาได้ยาก

หนองใน อันตรายไหม?

หนองใน อันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถทำให้ต่อมต่างๆ บริเวณท่อปัสสาวะอักเสบ หรืออันตรายในเด็กทารกแรกเกิดที่อาจติดเชื้อจากมารดาขณะคลอดได้  และขึ้นอยู่กับความใส่ใจดูแลสุขภาพ หากละเลย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น โรคข้ออักเสบติดเชื้อจากหนองใน อีกทั้งยังจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิส ได้มากกว่าคนทั่วไป สามารถรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

ภาวะแทรกซ้อนในทารก

การได้รับเชื้อหนองในจากมารดา ระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการมองเห็นของทารกจนทำให้ตาบอด และเกิดการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกได้

ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย

หนองในที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้มีภาวะอัณฑะอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของท่อม้วนขนาดเล็กในส่วนหลังของลูกอัณฑะที่มีท่ออสุจิอยู่ โดยภาวะอัณฑะอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษานี้สามารถนำไปสู่การเกิดภาวะมีบุตรยากในที่สุด

ภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง

เชื้อหนองในสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก และท่อนำไข่ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อและอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพังผืดที่ท่อนำไข่ เสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก อาการปวดเชิงกรานระยะยาว ภาวะมีบุตรยาก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด เยื่อบุตาทารกอักเสบ เป็นต้น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานจึงถือเป็นการติดเชื้อชนิดร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

เสี่ยงต่อติดเชื้อเอชไอวีหรือเชื้อเอดส์

หนองในจะส่งผลให้ผู้ป่วยไวต่อการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นไวรัสที่นำไปสู่โรคเอดส์ และผู้ที่ติดเชื้อทั้งโรคหนองในแท้และโรคเอชไอวีจะสามารถแพร่กระจายโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ไปสู่คู่นอนของตนเองได้รวดเร็วกว่าปกติ

การติดเชื้อแพร่ไปยังข้อต่อและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

เชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของหนองใน สามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ส่งผลให้มีการติดเชื้อที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หนึ่งในนี้คือการติดเชื้อบริเวณข้อต่อซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บผิวหนัง ปวดข้อต่อ เป็นไข้ ผื่นขึ้น บวม และรู้สึกเมื่อยตามมา ทั้งนี้การติดเชื้อบางบริเวณยังอาจเป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดหนองใน

  1. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. ผู้ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  4. ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  5. ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

การป้องกันหนองใน

  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือการงดมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด (ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก)
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ
  • หากมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

เป็นหนองในรักษาหายไหม?

หนองใน สามารถรักษาหายได้ แต่ถ้าหากรักษาจนหายแล้ว เบื้องต้นผู้ที่เคยเป็นหนองในต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นหนองในซ้ำอีกได้

การรักษาหนองใน

การรักษาหนองใน

หนองใน รักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporin และ Quinolone อาจเป็นชนิดรับประทานหรือชนิดยาฉีด ยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Cefixime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Ofloxacin, Levofloxacin ทั้งนี้ การรักษาหนองในจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยที่จะต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตน รวมทั้งตรวจซ้ำตามแพทย์แนะนำ

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหนองใน

  • งดมีเพศสัมพันธ์รวมถึงสำเร็จความใคร่จนกว่าจะรักษาหาย
  • พาคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ไปตรวจหาเชื้อหนองใน
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และทำให้แห้งอยู่เสมอ 
  • ไม่ควรรีดหนองด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบจน
  • เข้ารับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำสั่งแพทย์
  • รีบพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
  • ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง 
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • หากได้รับการรักษาแล้ว แต่มีอาการที่คล้ายกับว่าจะแพ้ยา ควรรีบไปพบแพทย์
  • เมื่อรักษาตามอาการจนครบแล้ว ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าเชื้อหนองในหายสนิท

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

โรคหนองใน (Gonorrhoea)

โรคหนองใน (Gonorrhoea)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน   โดยสามารแบ่งประเภทเชื้อที่เป็นต้นเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ๆ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส  เชื้อรา พยาธิ เป็นต้น

โรคหนองใน (Gonorrhoea) คืออะไร?

โรคหนองใน หรือโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อยมากที่สุดอีกโรคหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย   เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า    ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoea) 

ระยะฟักตัวของโรค

หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 2 – 10 วัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะแสดงอาการภายใน 5 วัน

สาเหตุของโรคหนองใน

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า โกโนค็อกคัส (Gonococcus ) ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด  จึงทำให้เชื้อโรคนี้แพร่ผ่านและติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก

โดยเชื้อแบคทีเรีย ไนซีเรีย โกโนเรีย ชนิดนี้สามารถเจริญได้ดีในที่ชื้นและที่อบอุ่นของระบบอวัยวะสืบพันธุ์มนุษย์ตั้งแต่ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ ซึ่งพบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และยังสามารถเจริญเติบโตได้ในบริเวณอื่น ๆ  ได้ เช่น ทวารหนัก เยื่อบุตา ช่องปากและคอ เชื้อจึงสามารถติดต่อทางปากได้ด้วย

การติดเชื้อจะเริ่มจากการสัมผัสเยื่อบุช่องปาก ช่องคลอด ทวารหนัก อวัยวะเพศ ที่มีเชื้อผ่านการสัมผัสทั้งการมีร่วมเพศ และอาจไม่มีการร่วมเพศ หรือหลั่งอสุจิเลยก็ได้ และในหญิงที่เป็นโรคและมีเชื้อในช่องคลอด สามารถแพร่จากช่องคลอดไปทหารหนัก และจากทหารหนักไปช่องคลอดได้เช่นกัน

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหนองใน

  1. ผู้ที่มีอายุยังน้อย หรือกลุ่มวัยรุ่น
  2. ผู้ที่ติดยาเสพติด
  3. ผู้ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน หรือมีการเปลี่ยนคู่นอนใหม่
  4. ผู้ที่ใช้คู่นอนร่วมกับผู้อื่น
  5. ผู้ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์
  6. ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ อาทิ โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นต้น

อาการของโรคหนองใน

อาการหนองในในผู้ชายมีอาการอย่างไร?

  • จะมีเมือกสีขาวขุ่น หรือ มีหนองข้นๆ สีเหลือง หรือเขียว หรือขาว ไหลออกมาจากส่วนปลายของอวัยวะเพศ โดยอาจเกิดขึ้นหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • รอบรูอวัยวะเพศเป็นสีแดง
  • เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • มีของเหลวไหลออกมาจากทวารหนัก
  • เกิดการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • เจ็บคอ คอแห้ง และรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีไข้ได้
  • เจ็บ บวม หรือฟกช้ำที่ลูกอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง แต่พบไม่บ่อย
  • หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยไว้นาน เชื้ออาจแพร่กระจายลุกลามสู่อัณฑะเสี่ยงเป็นหมันได้ 

อาการหนองในในผู้หญิงมีอาการอย่างไร?

  • มีหนองที่ช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบ
  • ปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บ หรือแสบขัด
  • เจ็บบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์ 
  • มีของเหลวไหลออกจากทวารหนัก
  • มีหนองที่ช่องคอ เจ็บคอ คอแห้ง และรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว
  • มีตกขาวผิดปกติขับออกมาจากช่องคลอด ลักษณะเป็นน้ำ หรือเส้นบาง ๆ สีออกเขียวหรือเหลือง หรือตกขาวเป็นมูกหนอง มีกลิ่นเหม็น  และมีปริมาณมากขึ้น 
  • เจ็บหรือฟกช้ำบริเวณท้องน้อย แต่พบได้ไม่บ่อย
  • มีเลือดออกระหว่างรอบเดือนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้น้อย
  • หากปล่อยไว้นานไม่รีบรักษา เชื้ออาจลุกลามไปสู่มดลูกและท่อรังไข่ เสี่ยงเป็นโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ รวมไปจนถึงเป็นหมันได้  

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

เมื่อเกิดข้อสงสัยว่าจะเป็นโรคหนองในหรือไม่ ก็ควรเข้าพบแพทย์ โดยสำรวจตัวเรา หรือคู่นอนมีอาการข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยผู้ที่เป็นโรคหนองในมักไม่ค่อยแสดงอาการโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง แต่หากเริ่มมีอาการแสบตอนปัสสาวะ หรือเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณโดยรอบอวัยวะเพศแล้วให้รีบไปพบแพทย์ หากแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคหนองใน ให้พาคู่นอนไปตรวจด้วยเช่นกัน

การป้องกันโรคหนองใน

  • ใช้ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน หรือคู่นอนที่มีความเสี่ยง แต่หากเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ก็ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางด้านหน้า ทางทวารหนัก หรือการใช้ปากสำเร็จความใคร่ก็ตาม
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะ จะเพิ่มความสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีอาการผิดปกติ โดยเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ปวดแสบขณะปัสสาวะ เจ็บหรือมีผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ
  • พูดคุยสอบถามคู่ของตนเองเกี่ยวกับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคหนองในแท้ก่อนเริ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศ
  • รับการตรวจโรคหนองในแท้เป็นประจำ หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี หรือหญิงอายุมากกว่านี้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เปลี่ยนคู่นอนใหม่ มีคู่นอนหลายคน ใช้คู่นอนร่วมกับผู้อื่น หรือคู่นอนป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจโรคหนองในแท้เป็นประจำทุกปี
  • ส่วนท่านที่เป็นแล้ว หรือเคยเป็น ให้พึงระลึกไว้เสมอว่า การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับโรคหนองในนั้น อาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ เพราะโรคติดต่อด้วยการสัมผัสเชื้อได้ ทั้งทางปาก ช่องคลอด อวัยวะเพศ ทวารหนัก ดังนั้น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหนองในต่อไป

การรักษาหนองใน

การรักษาจะใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 95 ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาในกรณีที่ท่านมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ หากไม่สามารถที่จะรับการตรวจเพื่อวินิจฉัย ควรรับยาเพื่อรักษาไปเลย ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น ท่านอาจจะต้องนอนรับการรักษาในโรงพยาบาลหรือรับการผ่าตัดแก้ไข

โดยจะแบ่งการรักษา ดังนี้

ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (Uncomplicated Gonorrhoea)

  • ผู้ป่วยหนองในที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก สามารถรักษาโดยใช้ยา Ceftriaxone 500 mg แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง ร่วมกับการรักษาโรคหนองในเทียม ส่วนอีกแบบคือ ยา Cefixime 400 mg ทาน 1 ครั้ง ร่วมด้วยกับการรักษาโรคหนองในเทียมเช่นเดียวกับยาแบบฉีด 
  • ผู้ป่วยหนองในที่ช่องคอ แพทย์จะใช้ยา Ceftriaxone 500 mg แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง ร่วมกับการรักษาโรคหนองในเทียม 
  • ผู้ป่วยหนองในที่เยื่อบุตาวัยผู้ใหญ่ มักใช้ยา Ceftriaxone 1 g ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำ 1 ครั้ง ร่วมกับการรักษาอาการหนองในเทียม ทั้งนี้ผู้ป่วยควรล้างตาด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อให้สะอาดทุกๆ ชั่วโมง จนกว่าหนองบริเวณตาจะแห้งสนิท 

มีภาวะแทรกซ้อน (Complicated Gonorrhoea)

  • ผู้ป่วยหนองในชนิดมีภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ (Local Complicated Gonorrhoea) เช่น เกิดฝีในอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และต่อมต่างๆ บริเวณท่อปัสสาวะอักเสบ จะใช้การรักษาแบบเดียวกับโรคหนองในชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่จะต้องรักษาอย่างน้อย 2 วันขึ้นไปหรือจนกว่าหนองในจะหายดี 
  • ผู้ป่วยหนองในชนิดมีภาวะแทรกซ้อนแพร่กระจาย (Disseminated Gonococcal Infection) ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ หรือมีภาวะโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ และมีภาวะเอ็นอักเสบ แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยา Ceftriaxone 1-2 g ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วันละ 1 ครั้ง หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นก็จะได้รับยาทาน Cefixime 400 mg วันละ 2 ครั้ง 
  • กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะรักษาโดยใช้ยา Ceftriaxone 1-2 g ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 12 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ แพทย์จะรักษาโดยใช้ยา Ceftriaxone 1-2 g ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 12 ชั่วโมง และใช้ระยะเวลารักษานานถึง 4 สัปดาห์

อ่านบทความอื่นๆ