รู้จักเป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน

เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน
เป๊ป (PEP) ยาต้านฉุกเฉิน

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผลเอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

รู้จักยา PEP คืออะไร

PEP ย่อมาจาก post-exposure prophylaxis หรือยาต้านฉุกเฉิน ทานหลังจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี  เป็นการรักษาระยะสั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาที่ใช้ในกลุ่มนี้เป็นประเภท Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) Integrase inhibitor strand transfer inhibitor (INSTs) และ Protease inhibitor(PIs) โดยทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง

การทานยาเป๊ป(PEP) 

การทานยา เป๊ป(PEP) จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ คือ ต้องทานภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อมา หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งถ้าทานยาหลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว หรือทิ้งไว้นานก็จะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาไม่ได้ผล 

การทานยา เป๊ป(PEP) จะต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และทานยาต้านไวรัสประกอบกัน 2-3 ชนิด ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับผู้มีเชื้อเอชไอวี แต่ยาต้านไวรัสส่วนมาก มักมีผลข้างเคียง บางรายอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และอิดโรย โดยผลข้างเคียงนี้อาจมีอาการรุนแรงในบางราย จนทำให้เป็นสาเหตุของผู้ทานยา หยุดยาไปก่อนที่จะทานครบกำหนด

สาเหตุที่ต้องรับยาเป๊ป ( PEP )

ยาเป๊ป (PEP) เป็นยาต้านฉุกเฉิน ในกรณีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และการรับยา PEP จะช่วยยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานยาให้เร็วที่สุด

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป๊ป ( PEP )

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ถูกข่มขืน หรือ มีการป้องกันแต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์เช่น ถุงยางหลุด ถุงยางฉีกขาด ฯลฯ
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ หรือ สัมผัสเลือด หรือ ได้รับสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ไม่ได้สติขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเกิดจากฤทธิ์แอลกอฮอล์หรือฤทธิ์ยาบางชนิด
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุ มีดบาด เข็มตำในโรงพยาบาลจากการทำหัตถการให้คนไข้
  • มีความถี่ในการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ให้บริการทางเพศบ่อย
  • มีการเข้ารับยาเป๊ป (PEP) บ่อยครั้ง
  • มีการตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

จะรับยาเป๊ป ( PEP )  มีขั้นตอนอย่างไร

หากคุณมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี

  1. ขั้นตอนแรกต้องเข้ามารับคำปรึกษาประเมินความเสี่ยงโดยแพทย์ก่อน
  2. หลังจากนั้นหากแพทย์ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสมควรได้รับยา PEP  จริง จะต้องมีการเจาะเลือดคนไข้เพื่อตรวจว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ก่อนแล้ว รวมถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และสุขภาพโดยรวม ค่าไตค่าตับของคนไข้ด้วย ว่าพร้อมจะกินยาหรือไม่
  3. เข้าพบแพทย์ เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสม
  4. รับยากลับบ้าน

ยาเป๊ป ( PEP ) ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้กี่เปอร์เซ็นต์

การใช้ยา PEP ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ได้ 100% แต่เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการที่คนคนนึงจะติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่หลังได้รับยา PEP นั้นมีมากมายหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของโรคที่รับเชื้อมา ว่ามีปริมาณ viral load มากน้อยแค่ไหน ความเข็งแรงของตัวคนไข้เอง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อโอกาสที่คนไข้จะติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งสิ้น   

กินยาภายใน72ชั่วโมง

ต้องกินยาเป๊ป ( PEP ) นานแค่ไหน

การกินยา PEP ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงหลังได้รับความเสี่ยง โดยกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน(กินเวลาเดิม) ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 28 วัน โดยสูตรยาที่กินจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง หลังจากกินยาครบแพทย์จะนัดคนไข้มาเจาะเลือดเพื่อตรวจเอชไอวี อีกครั้ง

ยาเป๊ป ( PEP )  ฟรี 

การรับยา PEP สามารถเข้ารับบริการได้ตามสถานบริการของรัฐ เอกชน หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีแพทย์ประจำ เนื่องจากการรับยาต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของแพทย์ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือดทุกครั้งที่รับยา เพื่อความปลอดภัย และลดผลข้างเคียงที่อาจจะตามมาได้หลังจากการรับยา

ยาเป๊ป ( PEP ) ซื้อที่ไหน

อย่างแรกก่อนการรับยาเป๊ป คุณจะต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียก่อน เป็นการยืนยันผลว่าคุณไม่ได้มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว เพราะถ้าหากคุณมีเชื้อเอชไอวี จะไม่สามารถใช้ยาเป๊ปได้ รวมถึงมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆด้วย การทานยาต้านฉุกเฉินนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อทานได้เองตามร้านขายยาทั่วไป หรือทางออนไลน์ 

ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงๆ สามารถใช้ ยาเป๊ป ( PEP )ได้ตลอดไหม

ยา PEP ควรเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หากเรารู้ตัวว่าจะต้องมีความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี อยู่เป็นประจำ ควรใช้ยา PrEP ที่เอาไว้ทานร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้เอชไอวี จะเป็นวิธีที่เหมาะสมและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยา PEP (เป๊ป) ยาต้านฉุกเฉิน ป้องกัน hiv คืออะไร ? อันตรายไหม ? https://www.bangkoksafeclinic.com/th/pepเป็บ/

ถุงยางแตก ตรวจ HIV เลยได้ไหม?

ถุงแตก ถุงยางอนามัย ยาเป๊ป PEP ตรวจเอชไอวี ถุงยางรั่ว ถุงยางหลุด ยาต้านไวรัสเอชไอวีฉุกเฉิน ยาเอดส์ ตรวจเลือด

หลายคนคงไม่คิดว่า ไอ้เจ้าถุงยางอนามัยที่เราใช้ในการมีเพศสัมพันธ์นี้ จะสามารถแตกได้ บางคนกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม จู่ ๆ ถุงยางเจ้ากรรมก็ดันแตก ขาด หลุด หรือรั่วขึ้นมาเสียได้ นอกจากจะเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ แล้ว ในผู้หญิงก็ยังมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์อีกด้วย ทำเอาทั้งคู่เสียอาการ วิตกกังวล บางคนยิ่งแล้วใหญ่ เสร็จกิจแล้วถึงเพิ่งมารู้สึกตัวว่าถุงยางแตกไปเรียบร้อย แต่ไม่ต้องเครียดมากนัก ปัญหานี้มีทางออก วันนี้เรามีคำแนะนำที่ทำให้คุณผ่านเรื่องไม่คาดคิดเหล่านี้ไปได้ครับ

เพราะอะไรถุงยางถึงแตก?

ก่อนอื่นต้องทราบกันก่อนว่าทำไมถุงยางอนามัยถึงแตกได้ล่ะ?!

ลืมเช็ควันหมดอายุ

คุณอาจซื้อถุงยางอนามัยมาเก็บไว้นานแล้ว จนมันหมดอายุ ถุงยางอนามัยที่เก่ามาก จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งาน ทางที่ดีควรเช็ควันหมดอายุก่อนนำมาใช้ หรือหากซื้อใหม่ก็ควรดูวันหมดอายุด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าทางร้านค้าที่จำหน่ายถุงยางอนามัยนั้น นำสินค้ามาจัดวางนานเท่าใดแล้ว หากหมดอายุหรือใกล้หมดอายุ ไม่ควรนำมาใช้เด็ดขาด

เลือกผิดไซส์

คุณอาจเลือกใช้ถุงยางอนามัยที่ขนาดไม่เหมาะสมกับน้องชายของคุณก็เป็นได้ หากมีขนาดเล็กเกินไป ก็ทำให้แตกได้ เพราะไม่มีพื้นที่เหลือบริเวณปลายสุดของถุงยางอนามัย พอหลั่งอสุจิออกมา จึงทำให้แตกรั่ว หากมีขนาดใหญ่เกินไป ก็ทำให้มีโอกาสหลุดออกจากอวัยวะเพศขณะมีการสอดใส่ได้

เก็บไว้ผิดที่

สังเกตหรือไม่ว่าตัวคุณเองเก็บถุงยางอนามัยไว้ที่ไหน? ถุงยางอนามัยไม่ควรอยู่ในรถยนต์ที่จอดตากแดดไว้นาน ๆ เพราะอุณหภูมิที่สูงจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมได้ หรือไม่ควรอยู่ในห้องครัว ห้องน้ำที่มีความชื้น ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ เพราะมันมีโอกาสที่จะทำให้กระเป๋าบีบรัดถุงยางอนามัยให้เกิดการฉีกขาดได้

แกะใช้ไม่ระมัดระวัง

ถุงยางอนามัยอาจแตกได้ หากเราแกะซองใช้ไม่ระวัง เช่น ใช้กรรไกรหรือมีดตัดโดนใส่ ใช้เล็บจิก ใช้ฟันกัดจนขาด เป็นต้น เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน ค่อย ๆ ฉีกซองถุงยางอนามัยอย่างเบา ๆ ตามรอยปรุที่เขาได้ทำไว้ให้แล้ว ระมัดระวังอย่าให้เล็บโดนใส่ถุงยางอนามัย รวมถึงตอนสวมถุงยางอนามัยให้น้องชายของคุณด้วย

ใช้สารหล่อลื่นผิดประเภท

การมีเพศสัมพันธ์ หากสารหล่อลื่นจากอวัยวะเพศมีน้อยเกินไป อาจทำให้ถุงยางแตกได้ หรือในรายที่เป็นคู่รักชายรักชาย การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจต้องใช้สารหล่อลื่นเข้าช่วย หลายคนเลือกใช้ผิดประเภท ไปใช้สารหล่อลื่นชนิดน้ำมันที่ไปทำปฏิกิริยากับถุงยางอนามัย ทำให้วัสดุของมันเสื่อมสภาพ เพราะฉะนั้นควรเลือกสารหล่อลื่นชนิดละลายน้ำแทน หรือชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันก็จะช่วยป้องกันได้

มีเซ็กส์ที่รุนแรงหรือขาดสติ

การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเพราะการดื่มแอลกอฮอล์จนขาดสติ หรือการใช้สารเสพติดเป็นตัวกระตุ้นให้มีเซ็กส์นานขึ้น เกิดการเสียดสีแรง ๆ หรือมีท่าทางที่ผิดแผกแปลกไปจากปกติ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ถุงยางอนามัยแตกได้ เพราะความจริงแล้วอายุในการใช้งานของถุงยางอนามัยจะอยู่ได้ครั้งละ 30 นาทีเท่านั้น หากใช้นานกว่านั้นประสิทธิภาพของมันก็จะลดลงเรื่อย ๆ เสี่ยงต่อการแตก และฉีกขาดได้เสมอ

ใส่ถุงยางอนามัยผิดวิธี

เชื่อหรือไม่ ผู้ชายบางคนยังใส่ถุงยางอนามัยไม่เป็นเสียด้วยซ้ำ การใส่ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธีจะต้องใส่ขณะที่น้องชายของคุณแข็งตัวเท่านั้น และต้องบีบกระเปาะตรงปลายถุงเพื่อไล่ฟองอากาศก่อนใส่ ถ้าไม่ทำจะเกิดการเสียดสีไปมาขณะมีเซ็กส์ จนทำให้ถุงยางอนามัยแตกนั่นเอง รวมถึงบางคนก็ยังใส่ถุงยางอนามัยผิดด้าน เพราะฉะนั้นก่อนมีอะไรกับใคร ทดลองใส่ถุงยางอนามัยให้ถูกวิธีเสียก่อน จะได้ไม่ต้องมาแก้ปัญหากันทีหลังครับ

ถุงยางแตก เสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง?

  • ไวรัสเอชไอวี
  • ซิฟิลิส
  • หนองในแท้
  • หนองในเทียม
  • เริม
  • หูดหงอนไก่
  • ไวรัสตับอักเสบบี
  • ไวรัสตับอักเสบซี
  • ไวรัสเอชพีวี
  • แผลริมอ่อน
  • ฝีมะม่วง
  • การติดเชื้อทริโคโมแนส ฯลฯ

ทำอย่างไรเมื่อถุงยางแตก?

ตั้งสติและจัดการกับอวัยวะเพศของตนเองก่อน
รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อขอรับยาเป๊ปมาทานให้เร็วที่สุด
ตรวจคัดกรองเบื้องต้นก่อนเริ่มทานยา
ทานยาเป๊ปให้ครบและตรงต่อเวลา
ตรวจเลือดอีกครั้งหลังทานยาครบ

1. ตั้งสติและจัดการกับอวัยวะเพศของตนเองก่อน

ผู้หญิง

  • ควรรีบเข้าห้องน้ำเพื่อขับปัสสาวะออกมา ด้วยการนั่งยอง ๆ ขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด เพื่อขับตัวอสุจิที่อาจอยู่ใกล้ท่อปัสสาวะให้ออกมา
  • ไม่ควรฉีดน้ำล้างข้างในช่องคลอด เพราะจะยิ่งทำให้อสุจิหรือเชื้อไวรัสเข้าไปข้างในมากขึ้น อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ และได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการใช้น้ำอุ่นราดลงไปพร้อมนั่งท่ายอง ๆ ก็เพียงพอแล้ว

“ความจริงแล้วผู้หญิงก็ไม่ควรฉีดน้ำล้างช่องคลอดอยู่แล้ว เพราะบริเวณนั้นจะมีแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อโรคต่าง ๆ หากฉีดล้างก็จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น”

  • รีบทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชม. หากไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นอยู่ก่อนแล้ว

ผู้ชาย

  • หากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ควรเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายหนัก จะเป็นการช่วยขับอสุจิที่อาจตกค้างอยู่ภายในให้ออกมามากที่สุด
  • ไม่ควรฉีดน้ำล้างข้างในทวารหนัก เหมือนกันกับช่องคลอดของผู้หญิง เพราะจะทำให้เสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
ยาเป๊ป PEP ยาต้านฉุกเฉิน ถุงแตก ถุงหลุด ถุงยางอนามัย เอชไอวี เอดส์

2. รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อขอรับยาเป๊ปมาทานให้เร็วที่สุด

ยาเป๊ป หรือยาต้านไวรัสเอชไอวีฉุกเฉิน (Post -Exposure Prophylaxis : PEP) คือ ยาสำหรับผู้ที่ความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวีมาแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง เช่น ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ที่ถุงยางอนามัยแตก รั่ว หรือหลุดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น ยาเป๊ป ทำหน้าที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัว และการกลายตัวเป็นไวรัสเต็มรูปแบบของเชื้อเอชไอวี ทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกายได้นั่นเอง

3. ตรวจคัดกรองเบื้องต้นก่อนเริ่มทานยา

การที่จะทานยาเป๊ปได้ จะต้องทำการปรึกษาแพทย์เท่านั้น เพราะยาชนิดนี้ ไม่สามารถหาซื้อได้ทางออนไลน์ หรือตามร้านขายยาทั่วไป ผู้ที่มีความเสี่ยงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการซักประวัติความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าคุณสมควรทานยาเป๊ปหรือไม่

โดยจะต้องมีการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียก่อน แต่ผลเลือดจะเป็นผลย้อนหลัง ไม่ใช่ผลเลือดของความเสี่ยงครั้งล่าสุด เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่มีความเสี่ยงไม่ได้มีเชื้อเอชไอวีอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งจะต้องมีการตรวจแล็บเพิ่มเติม เช่น ไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของตับ การทำงานของไต เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าคุณสามารถทานยาเป๊ปได้จริง ๆ

4. ทานยาเป๊ปให้ครบและตรงต่อเวลา

การที่จะป้องกันเอชไอวีได้ คือคุณต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการทานยาเป๊ปให้ครบและตรงต่อเวลา โดยจะต้องทานทุกวัน เป็นเวลา 28 วัน และควรเป็นเวลาเดียวกัน อาจจะใช้นาฬิกาปลุกเพื่อเตือนความจำ เพื่อไม่ให้ลืม การลืมทานยาเป๊ป หรือทานยาช้ากว่าเวลาปกติ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเอชไอวีลดลง และยังส่งผลต่ออาการดื้อยาในอนาคตอีกด้วย

5. ตรวจเลือดอีกครั้งหลังทานยาครบ

เมื่อทานยาครบตามกำหนดแล้ว ควรกลับไปตรวจเอชไอวีอีกครั้ง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่ายาเป๊ปทำงานได้ดีหรือไม่ ผลเลือดของคุณเป็นลบหรือไม่ และควรกลับไปตรวจอีกครั้งหลังจากนี้อีก 3 เดือน และ 6 เดือนเพื่อให้มั่นใจมากที่สุดว่าการทานยาเป๊ปครั้งนี้ ช่วยให้คุณปลอดภัย ไม่ติดเชื้อเอชไอวีจริง ๆ

ป้องกันไม่ให้ถุงยางแตก ต้องทำอย่างไร

ถุงยางอนามัย ถุงแตก ถุงหลุด ขนาดถุงยางอนามัย ถุงยางหมดอายุ เจลหล่อลื่น สารหล่อลื่น วิธีใช้ถุงยางอนามัย

ปัญหาถุงยางอนามัยแตก ป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ครับ

  • เลือกถุงยางอนามัยให้เหมาะสมกับอวัยวะเพศของตัวเอง
  • ตรวจสอบวันหมดอายุก่อนนำมาใช้งาน และแกะใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • เลือกใช้สารหล่อลื่นชนิดน้ำ หรือเป็นสารหล่อลื่นที่ใช้เฉพาะถุงยางอนามัยเท่านั้น
  • เก็บถุงยางอนามัยให้ถูกที่ ไม่ควรเก็บไว้ในรถยนต์หรือในกระเป๋าสตางค์
  • สวมถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี โดยใช้มือหนึ่งจับปลายถุงยาง และใช้มืออีกข้างค่อย ๆ รูดม้วนถุงยางจนถึงฐานอวัยวะเพศ ให้คลุมพอดีและไล่ฟองอากาศออกไปจนหมด และสวมถุงยางอนามัยเพียงชั้นเดียว
  • ทิ้งให้ปลอดภัย อย่าทิ้งลงในชักโครก ให้ห่อด้วยกระดาษทิชชู่มิดชิดก่อนทิ้งถังขยะ และไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ