ปัญหาการติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลก และยังเป็นโรคที่คุกคามมนุษยชาติที่ร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในปัจจุบันนี้ เนื่องจากยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ด้วยการทานยาต้านไวรัส เพื่อสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป
การติดเชื้อเอชไอวีไม่เท่ากับโรคเอดส์ เสมอไป!
เอชไอวีเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ เมื่อมีคนติดเชื้อเอชไอวี พวกเขายังสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายปีก่อนที่จะเกิดโรคเอดส์ที่สมบูรณ์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) อีกนัยหนึ่งก็คือ โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถกินยาเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเอดส์ได้
อาการโรคเอดส์ ระยะแรก คุณติดเชื้อเอชไอวีไหมจะรู้ได้ยังไง
1. สังเกตว่าตัวเอง มีความเหนื่อยมาก โดยไม่มีสาเหตุหรือไม่ โดยเหนื่อยอยู่ตลอดเวลาแม้พึ่งจะนอนมาเต็มอิ่มหรือเปล่า ถ้าอาการเหล่านี้ยังคงอยู่นานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ก็ควรไปตรวจเลือดให้มันใจว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี
2. สังเกตว่ามีไข้ หรือมีเหงื่อออกมาก ในตอนกลางคืนหรือไม่ การมีไข้ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ เพราะอาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้น ของการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะเป็นระยะของการติดเชื้อเริ่มแรก หรือระยะเฉียบพลัน บางคนอาจจะไม่มีอาการเหล่านี้ แต่บางคนก็จะมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น หลังจากติดเชื้อเอชไอวีแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์
3. สังเกตว่าต่อมที่คอ รักแร้ หรือขาหนีบนั้นบวมหรือไม่ หากต่อมน้ำเหลืองมีการบวมแสดงว่ามีการตอบสนองต่อการติดเชื้อของร่างกายซึ่งจะเกิดในช่วงแรกกับผู้ติดเชื้อบางคนจะไม่ได้มีอาการนี้ทุกคน
4. สังเกตว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียหรือไม่ อาการเหล่านี้จะเกิดร่วมกันกับไข้หวัดใหญ่ แต่ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือน ของการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเริ่มแรกได้เช่นกัน เพราะถ้าอาการเหล่านี้คงอยู่เป็นเวลานาน ควรที่จะรีบเข้ารับการตรวจเลือดโดยเร็ว
5. สังเกตว่ามีแผลเปื่อย ตามบริเวณปาก หรืออวัยวะเพศหรือไม่ เพราะถ้าคุณมีแผลเปื่อยตามบริเวณปากควบคู่ไปกับอาการอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะถ้าปกติแล้วคุณไม่ค่อยมีเป็นแผลเปื่อยบริเวณปาก นี่ก็อาจจะเป็นสัญญาณ ของการติดเชื้อเอชไอวีขั้นต้นได้ และการเป็นแผลเปื่อยที่อวัยวะเพศ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน
6. สังเกตว่ามีผื่น มีรอยฟกช้ำและอักเสบบนผิวหนังหรือไม่ โดยผื่นจะขึ้นเป็นหย่อมๆ มีรอยฟกช้ำเป็นจุดบนผิวหนัง รอยจ้ำเลือด โดยผื่นจะลามขยายตัวเป็นวงกว้างแล้วค่อยๆหายไป เช่น ผื่นโรคเริม งูสวัด หูดข้าวสุก หรือเชื้อรา ขึ้นตามร่างกาย
7. สังเกตว่าน้ำหนักลดลง ถ่ายหนัก อุจจาระร่วงหรือไม่ โดยน้ำหนักลดลงในระยะเวลาอันรวดเร็วอย่างผิดวิสัย
8. สังเกตมีอาการไอแบบแห้งๆ เรื้อรังติดต่อเป็นระยะเวลานานหรือไม่ อาจมีอาการหายใจติดขัด หอบ เหนื่อยร่วมด้วย
9. สังเกตว่ามีอาการสมาธิสั้น กระวนกระวาย ขี้กังวลและหงุดหงิดง่ายขึ้นหรือไม่ และอาจทำให้มีความจำสั้นมากขึ้นด้วย
10. สังเกตว่าเล็บมีรูปร่างและสีเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น บิดโค้งงอ แยกชั้น ไม่มันเงา
11. สังเกตอาการชาตามนิ้วมือและนิ้วเท้าหรือไม่ อาการมือและเท้าชา หมดแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ตามต้องการ
12. สังเกตว่ามีฝ้าขาวในปากหรือลิ้นหรือไม่ ฝ้าขาวในปาก ลิ้น และในลำคอ อาจเกิดขึ้นนานเกิน 3 เดือนขึ้นไป
13. สังเกตว่าตนเองนั้นได้เสี่ยงหรือไม่เสี่ยงจากการเชื้อเอชไอวี ซึ่งการฟักตัวกลายเป็นโรคเอดส์แบบเต็มขั้นซึ่งจะใช้เวลานานกว่า 10 ปี ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นได้ถูกทำลายไปแล้ว และจะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
ตุ่มเอดส์ อาการเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี
ตุ่มเอดส์ หรือที่บางคนชอบเรียกว่า ผื่นหรือตุ่มเอชไอวี ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของการติดเชื้อเอชไอวี เข้าสู่ร่างกายมักเกิดขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกหลังรับเชื้อ
AIDS Blister เป็นอาการของการติดเชื้อเอชไอวี ตุ่มพองเป็นแผลที่เต็มไปด้วยของเหลวที่ไม่เจ็บปวด ซึ่งมักปรากฏที่หลังส่วนล่างของปากในช่วงหลายวันถึงหลายสัปดาห์หลังการติดเชื้อเอชไอวี เป็นที่รู้จักกันว่า leukoedema ในช่องปาก ซึ่งจะเกิดที่ใดก็ได้ในปาก แผลพุพองจากโรคเอดส์ มักจะเปิดออกและกลายเป็นแผลดิบก่อนที่จะหายไปแล้ว ทิ้งแผลหรือตกสะเก็ดไว้เบื้องหลัง
สาเหตุของการเกิดตุ่มเอดส์
90% ของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จะมีอาการทางผิวหนังในบางระยะของการเป็นโรค หนึ่งในอาการนั้นก็คือ การเกิดผื่นขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยตรง หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาที่รักษาการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็ได้ ซึ่งไม่ว่าผื่นนั้นจะเกิดจากการใช้ยา หรือจากตัวเชื้อไวรัสเอชไอวี เอง โดยส่วนใหญ่ผื่นนั้นจะมีสีแดงแบนบนผิวหนังและมีตุ่มนูนแดงอยู่ด้านบน
ความรุนแรงของผื่น
ผื่นบางชนิดมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่บางชนิดจะทำให้เกิดการทำลายผิวหนังอย่างรุนแรงถึงขั้นอันตรายแก่ชีวิตได้
ผื่นที่พบได้น้อยแต่รุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ยา เรียกว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome: SJS) เมื่อผื่นชนิดขึ้นและมีอาการมากกว่า 30% ของร่างกาย จะเรียกว่า Toxic Epidermal Necrolysis อาการของกลุ่มอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ประกอบด้วย
- ตุ่มพองน้ำบนผิวหนังและเยื่อบุ
- ผิวชั้นนอกจะลอกออกเป็นแผ่น เหมือนแผลถูกไฟไหม้
- ผื่นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีไข้ อ่อนเพลีย
- ลิ้นบวม
- ปวดแสบร้อนตามผิว ผิวแดงไปทั้งตัว
- แผลในปาก ริมฝีปาก
- ตาอักเสบ
วิธีการรักษาเอชไอวีและโรคเอดส์
การรักษาเอชไอวี คือ การใช้ยายับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส หรือยาต้านเชื้อไวรัสซึ่งต้องกินยาไปตลอดชีวิตเรียกว่า Antiretroviral therapy เราสามารถติดตามผลการรักษาได้จากการเจาะเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดขาว CD 4 positive T cell ว่า อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ และนับปริมาณไวรัสในเลือดได้โดยตรง (Viral load)
เป้าหมายสำคัญในการให้ยาก็เพื่อให้การติดเชื้อเอไอวี อยู่ในระยะที่ 2 หรือระยะสงบต่อไปนานๆ ชะลอการพัฒนาเป็นโรคเอดส์ และการใช้ยารักษาโรคติดเชื้อต่างๆที่เกิดขึ้นจากการมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใด เช่น ติดเชื้อวัณโรคก็ให้ยารักษา วัณโรค ติดเชื้อราก็ให้ยารักษาเชื้อรา หรือถ้าเป็นโรคมะเร็งก็รักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
การรักษาโรคเอดส์ เป็นเพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภทคือ
- Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์
- Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
- Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV
สามารถตรวจ HIV ฟรี ได้ที่ไหนบ้าง?
คนไทยสามารถตรวจ HIV ฟรีได้ปีละ 2 ครั้ง เพียงแค่มีบัตรประชาชน ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว เฉพาะโรงพยาบาลรัฐและศูนย์อนามัย หรือคลินิกที่ร่วมโครงการ เพราะฉะนั้น อย่าไปกลัวที่จะตรวจ เมื่อเราเสี่ยงมา ให้รีบไปตรวจ เพราะ HIV ตรวจเร็วรักษาได้
หรือสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกได้ ซึ่งแต่ละที่จะมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป ประมาณได้ราว ๆ 500 – 1,000 บาท/ครั้ง
ป้องกันตนเองอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ HIV
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- มีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
- ก่อนสมรส หรือมีลูก ควรมีการตรวจเลือด
- งดใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
- พาคู่รักและตนเองไปตรวจเลือด หรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงการสักตามผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆของร่างกายเพราะสถานบริการบางแห่งอาจรักษาความสะอาดของเครื่องมือไม่ดีพอ
การติดเชื้อเอชไอวีหายได้ไหม?
การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ยังเป็การรักาษด้วยยาที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวีเท่านั้น รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคสู่คนอื่น แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับคนปกติ และมีอายุขัยใกล้เคียงคนปกติ หลังจากทานยาต้านไวรัสเป็นเวลานาน จะพบเชื้อน้อยลงจนแทบไม่พบเชื้อ แพทย์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าหายขาดแล้ว ผู้ป่วยยังต้องทานยาต่อไปตลอดชีวิต
สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาอยู่แล้ว ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพราะปัญหาที่พบบ่อยคือ การรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ทำให้รักษาได้ยาก
สิ่งที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรปฏิบัติ
- เริ่มการรักษาโดยทันที เมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี
- รับประทานยาในทุกๆ วัน อย่าลืม อย่างดเว้นการทาน และทานยาให้ตรงเวลา การทานยาเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย เพราะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส ป้องการระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยลดโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
- พบแพทย์เสมอเมื่อถึงเวลานัด ผู้ป่วยควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ มีการตรวจติดตามอาการตลอด เฝ้าระวังในการรักษา
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน อาหารมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสม เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
- ดูแลสุขภาพจิต เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ป่วยจะรู้สึกแย่กับชีวิต จิตใจแย่ลง ฟุ้งซ่าน กลัว และกังวล หรืออาจคิดทำร้ายตัวเอง ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการปรึกษาทางสุขภาพจิต เพื่อหาเพื่อนคุย หาที่ปรึกษาที่ดี ที่สามารถให้คำปรึกษาได้ และพยายามมองโลกในแง่ดีให้มากๆ ขึ้น
- เลิกบุหรี่ เพราะบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้น
- เลิกใช้ยาเสพติด เพราะอาจทำให้อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยแย่ลงได้
- ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับเชื้อ หรือแพร่เชื้อเอดส์
- งดการบริจาคเลือด อวัยวะ
- หากเป็นหญิง ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ถึง 30%
- ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด ไม่กังวล รวมทั้งอาจฝึกสมาธิ
- อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
บทความที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :
- วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์ https://www.ชุดตรวจเอชไอวี.com/วิธีสังเกตคนเป็นเอดส์/
- อาการเอดส์ ระยะแรก คุณติดเชื้อ HIV ไหม จะรู้ได้ยังไง https://www.health-iv.com/บทความ/โรคติดต่อ-เพศสัมพันธ์/อาการเอดส์-ระยะแรก-คุณติดเชื้อ-hiv-ไหม-จะรู้ได้ยังไง/
- ตุ่มเอดส์ อาการเริ่มต้นของการติดเชื้อ HIV https://www.health-iv.com/บทความ/โรคติดต่อ-เพศสัมพันธ์/ตุ่มเอดส์-อาการเริ่มต้นของการติดเชื้อ-hiv/