ขั้นตอนการใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ INSTI

ขั้นตอนการใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ INSTI

ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ (INSTI) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยลดอัตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้พัฒนาชุดตรวจโดยทีมงานมืออาชีพจากประเทศแคนาดา ที่สำคัญคือได้รับการรับรองจากหลากหลายหน่วยงาน เช่น Health Canada (กระทรวงสาธารณสุขประเทศแคนาดา) และผ่านมาตรฐานสากล WHO Pre-Qualified จากองค์กรอนามัยโลก ได้รับมาตรฐานจาก CE (European Conformity) ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ สามารถมั่นใจในความปลอดภัยและมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรปอีกด้วย

 จุดเด่นของชุดตรวจเอชไอวี อินสติ (INSTI) ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก คือความรวดเร็วและความแม่นยำในการตรวจ โดยใช้ระยะเวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่าชุดตรวจทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ครอบคลุมทุกกระบวนการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ขั้นตอนการตรวจที่สะดวกไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ที่ใช้เป็นวัสดุที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้ตรวจและคนรอบข้าง ที่สำคัญคือคำนึงถึงการเข้าถึงได้ง่ายภายใต้ราคาที่คุ้มค่า

ความน่าเชื่อถือของชุดตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลให้ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ภายในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจทั้งในเรื่องของข้อเท็จจริงของเชื้อไวรัสเอชไอวี แนวทางการรักษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความรู้ในการตรวจเบื้องต้น เป็นต้น ทั้งนี้ในด้านของทัศนคติต่อการติดเชื้อเอชไอวียังคงมีแง่ลบในสังคมอยู่พอสมควร ถึงแม้ว่าหลากหลายหน่วยงานได้รณรงค์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องก็ตาม หลายปัจจัยส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มุมมองต่อการตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ยังคงมองว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่ข้อเท็จจริงในปัจจุบันมาตรฐานของการผลิตและการใช้งานของชุดตรวจถือว่ามีความแม่นยำมากกว่า 99% เมื่อเทียบกับการตรวจภายในสถานพยาบาล ด้วยการออกแบบให้ขั้นตอนการตรวจมีความสะดวก ทำได้เองง่าย ๆ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยแม้แต่นิดเดียว แนะนำให้ตรวจสอบสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อดังต่อไปนี้

  • กระทรวงสาธารณสุข
  • คณะกรรมการอาหารและยา
  • มาตรฐานสากล WHO Pre-Qualified จากองค์กรอนามัยโลก
  • ตัวแทนจำหน่ายได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง
  • ช่องทางการจำหน่ายมีความเชื่อถือ
  • ระบุแหล่งที่ผลิตและรายละเอียดต่าง ๆ ของตัวแทนจำหน่ายอย่างชัดเจน

ขั้นตอนการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

ลำดับแรกก่อนการใช้งานชุดตรวจให้มีความแม่นยำมากที่สุด ผู้ตรวจควรทราบก่อนว่าอุปกรณ์การตรวจที่ให้มาทั้งหมดประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจและพร้อมต่อการตรวจด้วยตนเอง จากนั้นต้องทราบว่าวิธีการตรวจเอชไอวีด้วยการเจาะเลือดมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จนไปถึงสิ่งสุดท้ายที่พลาดไม่ได้นั่นก็คือความเข้าใจในรายละเอียดความหมายของการอ่านค่าผลลัพธ์ที่ได้จากชุดตรวจ โดยเนื้อหาแบบเจาะลึกในแต่ละส่วนที่ได้กล่าวมาเราได้รวบรวมมาไว้ให้ดังต่อไปนี้

  • ส่วนประกอบของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ (INSTI)
    • เอกสารคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด จำนวน 1 ชุด
    • เข็มเจาะเลือดที่ใช้สำหรับเจาะปลายนิ้ว จำนวน 1 ชิ้น
    • กล่องชุดตรวจที่ใช้สำหรับการทดสอบ จำนวน 1 ชิ้น
    • พลาสเตอร์ปิดแผลสำหรับปิดบริเวณปลายนิ้วหลังจากการเจาะ จำนวน 1 ชิ้น
    • น้ำยาหมายเลข 1 (ฝาสีแดง) สำหรับเจือจาง ขนาด 1.5 มิลลิลิตร จำนวน 1 ขวด
    • น้ำยาหมายเลข 2 (ฝาสีน้ำเงิน) สำหรับปรับสี ขนาด 1.5 มิลลิลิตร จำนวน 1 ขวด
    • น้ำยาหมายเลข 3 (ฝาสีใส) สำหรับปรับความชัด ขนาด 1.5 มิลลิลิตร จำนวน 1 ขวด

วิธีการใช้งานชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ (INSTI)

หลังจากที่ได้ทราบอุปกรณ์ทั้งหมดภายในชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ (INSTI) แล้ว  สิ่งสำคัญถัดมาคือการใช้งานให้ถูกต้องตามหลักการที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 กระบวนการหลัก ๆ ดังนี้

การจัดเตรียมอุปกรณ์

  • ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองว่ามีความพร้อมต่อการใช้งานหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของอุปกรณ์ทุกชิ้น วันหมดอายุของชุดตรวจ และความเรียบร้อยของบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ 
  • หากภายในชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองไม่ครบถ้วน หรือมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกิดขึ้น ควรติดต่อผู้จำหน่ายโดยทันทีและไม่ควรใช้ชุดตรวจดังกล่าวเด็ดขาด
  • อ่านเอกสารคู่มือการใช้งานให้เข้าใจและครบถ้วน
  • ผู้ตรวจต้องล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนเปิดบรรจุภัณฑ์
  • จัดวางชุดตรวจไว้บนพื้นผิวที่เรียบไม่ขรุขระหรือเอียง

การเจาะเลือดจากปลายนิ้ว

  • เตรียมน้ำยาหมายเลข 1 (ฝาสีแดง) โดยการเปิดฝาขวดและวางบริเวณพื้นผิวเรียบ
  • เปิดฝาชุดเข็มสำหรับเจาะเลือดออก เพื่อให้พร้อมต่อการใช้งาน
  • นวดคลึงบริเวณปลายนิ้วกลางในข้างที่ต้องการเจาะ เพื่อเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด แนะนำให้ผู้ตรวจใช้แอลกอฮอล์เช็ดปลายนิ้วก่อนการเจาะเลือด
  • ใช้มืออีกข้างหยิบเข็มวางบริเวณปลายนิ้วที่คลึง โดยให้ช่องเข็มแนบสนิทกับปลายนิ้ว และใช้หัวแม่มือกดปลายอุปกรณ์จนยุบลง (ได้ยินเสียง “คลิก” ถือว่าการเจาะสำเร็จ)
  • ใช้มือข้างที่ถนัดบีบไล่เลือดจากโคนนิ้วไปจนถึงบริเวณที่เจาะ เพื่อให้ได้หยดเลือดขนาดใหญ่ขึ้น
  • เมื่อได้หยดเลือดที่เพียงพอแล้ว ให้หยดลงในน้ำยาหมายเลข 1 (ฝาสีแดง) และให้รีบปิดฝาขวดทันที
  • ปิดแผลเจาะเลือดด้วยพาสเตอร์ที่ให้มาภายในชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

การทดสอบผลเลือด

  • เขย่าน้ำยาหมายเลข 1 (ฝาสีแดง) โดยการเขย่าแนวตั้งฉากกับพื้นราบให้ฝาขวดน้ำยาตั้งขึ้นตลอดเวลาทั้งหมด 4 ครั้ง จากนั้นเทลงบนชุดตรวจให้หมดและรอจนกว่าน้ำยาจะซึมหายไปทั้งหมด
  • เขย่าน้ำยาหมายเลข 2 (ฝาสีน้ำเงิน) โดยการเขย่าเช่นเดียวกัน จากนั้นเทน้ำยาลงชุดตรวจเอชไอวีให้หมดและรอจนกว่าน้ำยาจะซึมหายไปทั้งหมด
  • เขย่าน้ำยาหมายเลข 3 (ฝาสีขาวใส) โดยการเขย่าเช่นเดียวกัน จากนั้นเทน้ำยาลงชุดตรวจเอชไอวีให้หมดและรอจนกว่าน้ำยาจะซึมหายไปทั้งหมด

การอ่านผลตรวจเอชไอวีจากชุดตรวจ อินสติ (INSTI)

เกิดปฏิกิริยา (Reactive)ชุดตรวจเอชไอวีจะแสดงผลให้เห็นทั้งหมด 2 จุด ซึ่งมีความหมายว่าผู้ตรวจติดเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ทั้งนี้อาจเกิดจากผลบวกปลอมได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจยืนยันโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง
ไม่เกิดปฏิกิริยา
(Non-Reactive)
ชุดตรวจเอชไอวีจะแสดงผลให้เห็นทั้งหมด 1 จุด ซึ่งมีความหมายว่าผู้ตรวจไม่ติดเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ทั้งนี้อาจเกิดจากระยะการตรวจที่อยู่ระหว่างระยะฟักตัว ที่ไม่สามารถตรวจพบแอนติบอดีในร่างกายได้ ดังนั้นผู้ตรวจควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากนี้ 3 เดือน หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความมั่นใจ
ไม่สามารถแปลผลได้ (Invalid Result)ชุดตรวจเอชไอวีจะไม่แสดงผลให้เห็น หรือ ปรากฏเฉพาะจุดห่างจากตัว C เท่านั้น ซึ่งมีความหมายว่าอาจเกิดจากความผิดพลาดบางอย่าง หรือ เกิดจากปริมาณเลือดที่ตรวจไม่เพียงพอ หรือ กระบวนการตรวจไม่ถูกต้องตามที่กำหนด ทั้งนี้ผู้ตรวจควรทำการตรวจอีกครั้งโดยเร็วที่สุด

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง อินสติ (INSTI) และต้องการศึกษาการใช้งานอย่างละเอียดนอกเหนือจากการอ่านคู่มือแล้ว ยังสามารถเข้าชมวิดีโอตัวอย่างได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=hwT-BYmVN7g หรือ สอบถามผู้จำหน่ายได้ตลอดเวลาทำการ

อ่านบทความอื่นๆ

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?

เอชไอวีเป็นเชื้อที่มีความร้ายแรง และน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการไหน หรือยาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ทั้งยังในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้คนส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจ การติดเชื้อเอไอวีนั้น สามารถติดต่อกันได้โดยง่าย จนทำให้คนหลายคนมีความกังวล เมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี สามารถติดต่อได้ผ่านทางใดได้บ้าง เพื่อการปฏิบัติตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

เอชไอวี (HIV) คืออะไร?

เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

เชื้อเอชไอวี ติดต่อกันได้อย่างไร ?

เชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นจะอาศัยอยู่ในสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ได้แก่ เลือด น้ำนม อสุจิ น้ำหล่อลื่นจากอวัยวะเพศชาย รวมถึงของเหลวในช่องคลอด และทวารหนัก คนทั่วไปติดเชื้อเอชไอวีได้ หากสารคัดหลั่งเหล่านี้สัมผัสกับผิวหนังที่มีบาดแผล หรือบริเวณเยื่อเมือกบุผิวภายในทวารหนัก ช่องคลอด องคชาติของเพศชาย และในช่องปาก

โดยมีสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีดังนี้

สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัยป้องกัน หรือรับประทานยาต้านเชื้อเอชไอวี การร่วมเพศทางทวารหนักกับผู้ติดเชื้อโดยเป็นฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงสูงสุด แต่ฝ่ายรุกก็ติดเชื้อได้เช่นกัน ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดนั้น มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งฝ่ายรับ และฝ่ายรุกไม่ต่างกัน ทั้งนี้ ฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจะเสี่ยงมากกว่าฝ่ายรับที่มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด

ถ้าไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิงก็ตาม จะเป็นช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ ได้ทั้งนั้น  เพราะส่วนใหญ่แล้ว 80% ผู้ป่วยโรคเอดส์ จะรับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์

  • การใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์เตรียมฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วได้นานถึง 42 วัน หากมีอุณหภูมิและปัจจัยอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะพบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้เสพยาแบบฉีดยาเข้าเส้น

สาเหตุที่อาจพบได้บ้าง ได้แก่

  • การที่แม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายมี โอกาสสูงมากที่จะแพร่เชื้อ และถ่ายทอดเชื้อ ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด หลังคลอด หรือผ่านการให้นมบุตร โดยจะมีความเสี่ยงสูง หากแม่ไม่ได้รับประทานยา สำหรับรักษา หรือยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี  หากมีครรภ์แล้วควรปรึกษาคุณหมอ และอยู่ในความดูแลของคุณหมอ โดยที่คุณก็จะสามารถตั้งครรภ์ ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่ และลูก เพราะปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปไกลจนได้มีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ด้วยการทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพียงร้อยละ 8% 
  • ผู้ที่ทำงานกับอุปกรณ์ที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเอชไอวี เช่น เข็มฉีดยา หรือของมีคม 

สาเหตุที่พบได้น้อยมาก ได้แก่

  • การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก (oral sex) เป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากว่าฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อเอชไอวีปะปนมา เข้าไปภายในช่องปากของคู่นอน ขณะที่มีการทำ oral sex ซึ่งหากฝ่าย ที่ใช้ปากมีบาดแผลอยู่ภายในปาก ก็จะทำให้ได้รับความเสี่ยงนี้
  • การปลูกถ่ายอวัยวะหรือการบริจาคเลือด ปัจจุบันต้องมีการคัดกรองผู้บริจาคเลือด หรือผู้ที่บริจาคอวัยวะอย่างเข้มงวดมากขึ้น ก่อนที่จะนำมาปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วย โดยทำการตรวจสอบหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้งทุกครั้งก่อนนำไปใช้ เพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้
  • การรับประทานอาหารที่ผ่านการเคี้ยวจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากจะเกิดการปนเปื้อนเชื้อได้หากมีเลือดของผู้ป่วยอยู้ในอาหาร แต่หากผู้ป่วยไม่มีเลือดออกในปากขณะเคี้ยวก็รับประทานอาหารต่อจากผู้ป่วยได้ โดยการติดเชื้อลักษณะนี้พบในทารกเท่านั้น ถึงแม้ความเสี่ยงนี้จะต่ำ แต่ก็ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
  • การถูกกัดโดยผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ต้องเป็นการกัดที่รุนแรงจนมีเลือดไหล หรือเกิดแผลฉีกขาดที่ผิวหนังเท่านั้น 
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในสารคัดหลั่ง ซึ่งสามารถเข้าทางบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล หรือเยื่อเมือกภายในช่องปาก
  • การจูบแบบเปิดปาก หากว่าทั้งสองฝ่ายมีบาดแผลภายในช่องปาก หรืออาจจะมีเลือดออกตามไรฟัน  โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี อีกฝ่ายอาจทำให้อีกฝ่ายติดเชื้อเอชไอวีได้ ถึงแม้เชื้อเอชไอวีนั้นไม่ติดต่อกันผ่านทางน้ำลายก็ตาม
  • การสักหรือการเจาะตามร่างกายอาจส่งผลให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หากได้มีการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด โดยการใช้เข็มสักหรือมีการเจาะร่วมกัน ซึ่งรวมไปถึงการใช้หมึกในการสักร่วมกับผู้อื่น หากต้องการสักหรือเจาะร่างกาย ควรสังเกต หรือเลือกร้านที่มีการทำความสะอาด และสุขอนามัยของร้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเข็มสัก หมึกที่ใช้ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งยังควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าร้านดังกล่าวมีใบรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุข
  • การกัด การเกา หรือการบ้วนน้ำลาย ปกติแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่อาจแพร่เชื้อผ่านการกัด หรือการบ้วนน้ำลายได้ เนื่องจากในน้ำลายไม่มีเชื้อเอชไอวี ทว่าหากผู้ป่วยมีแผลในปาก หรือมีเลือดออกตามไรฟัน และกัดผู้อื่นจนผิวหนังฉีกขาด อาจทำให้บุคคลดังกล่าวเสี่ยงติดเชื้อได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

ส่วนการเกาผิวหนังนั้นไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นเช่นกัน หากไม่ได้เกาอย่างรุนแรงจนเกิดบาดแผลมีเลือดออกหรือทำให้สารคัดหลั่งของผู้ป่วยเข้าสู่ร่างกาย ทางที่ดีผู้ป่วยและผู้ดูแลควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสโดนเลือดของผู้ติดเชื้อโดยไม่ตั้งใจ

เอชไอวีป้องกันได้ หากระมัดระวัง

การติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด จึงควรป้องกันโดยเอาใจใส่พฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยมากขึ้น เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หมั่นตรวจเอชไอวีเป็นประจำ รวมทั้งรักษาสุขอนามัยโดยหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสเอชไอวี หากเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อติดเชื้อเอชไอวี 

ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้วนั้น ควรรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลา เพราะนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดี และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจเอชไอวีมีกี่แบบ?

เอชไอวี เอดส์ โรคติดต่อทางเพศ ตรวจเลือด ตรวจเอชไอวี Anti HIV Rapid test PCR NAT HIV testing

เมื่อการตรวจเลือดเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณรู้ว่ามีเชื้อเอชไอวีอยู่หรือไม่ การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่จึงทำการตรวจได้จากเลือด ซึ่งมีวิธีอยู่ 5 แบบหลัก ๆ ได้แก่

การตรวจหาภูมิคุ้นเคยต่อเชื้อเอชไอวี (Antibody HIV)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจหาภูมิคุ้นเคย หรือที่เรารู้จักโดยทั่วไปคือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายนั่นเอง แอนติบอดี (Antibody) หรือสารภูมิต้านทานเป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับ และทำลายสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาในร่างกายของคนเรา เมื่อเราได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้ามา แอนติบอดีก็จะตรวจจับได้ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป (ประมาณ 1 เดือน) วิธีตรวจแบบ Anti-HIV นี้ นิยมนำมาใช้ตรวจหาเชื้อมากที่สุด เพราะทราบผลตรวจไว ภายใน 1-2 ชั่วโมง และแพทย์มักจะแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือนเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี (HIV p24 Antigen Testing)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจหาโปรตีนของเชื้อที่มีชื่อว่า p24 มักจะใช้ในกรณีที่ผู้มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี ยังมีระยะฟักตัวที่ไม่เพียงพอ หรือร่างกายยังไม่สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ รวมทั้งมีระดับแอนติเจนต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดได้ แอนติเจน คือ สารก่อภูมิต้านทานที่มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย เมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับได้โดยแอนติบอดีนั่นเอง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป (ประมาณ 2 สัปดาห์) ข้อเสียของวิธีนี้คืออาจจะยังตรวจไม่เจอเชื้อเพราะระยะฟักตัวค่อนข้างน้อย แพทย์จึงแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 1 เดือนเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Anti-HIV และ Antigen ของเชื้อพร้อมกัน (HIV Ag/Ab combination Assay)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เรียกโดยทั่วไปว่า การตรวจแบบใช้น้ำยา 4th Generation คือ เป็นการตรวจแบบทั้งวิธีที่ 1 Anti-HIV และที่ 2 HIV p24 Antigen ในคราวเดียวกันนั่นเอง น้ำยา 4th Generation นี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานพยาบาลทั่วไปเพื่อตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป (ประมาณ 2 สัปดาห์) ให้ผลตรวจที่แม่นยำ รวดเร็ว

การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเอชไอวี (NAT : Nucleic Acid Testing)

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยตรงจาก RNA ของเชื้อ ถือเป็นวิธีที่สามารถตรวจเจอเชื้อได้รวดเร็วที่สุด หลังจากมีความเสี่ยงตั้งแต่ 5-7 วันขึ้นไป ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเอชไอวี ไม่ต้องรอระยะฟักตัว ช่วยลดความกังวลเพราะได้รับการตรวจที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน แต่วิธียังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายนัก ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจคัดกรองเลือดของผู้บริจาคเลือด หรือมีบริการที่คลินิกนิรนาม หรือสถานพยาบาลเฉพาะทาง และบางแห่งก็ไม่สามารถรู้ผลตรวจได้ภายในวันเดียว อาจต้องรอผลตรวจหลังจากนั้นอีก 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละสถานที่ และแพทย์จะแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำด้วยวิธีอื่น ๆ อีกครั้งที่ 1 เดือนเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจแบบ Rapid HIV Test

วิธีการตรวจชนิดนี้ เป็นการตรวจคัดกรองไวรัสเอชไอวีเบื้องต้นเท่านั้น และยังใช้เวลาในการทราบผลเพียง 20 นาที ถือว่าเป็นวิธีที่มีความรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ แต่ผู้ตรวจก็ยังจำเป็นที่จะต้องไปตรวจเอชไอวีแบบ Anti-HIV อีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการตรวจ

ตรวจเอชไอวี ตรวจเลือด ตรวจเอดส์ ตรวจซิฟิลิส อาการเอดส์ ตรวจเลือดกี่วัน ระยะฟักตัว Window Period HIV Aids

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี?

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ทราบผลเลือด
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มทิ่มตำ
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร

การตรวจหาเชื้อเอชไอวีจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ตรวจโดยสมัครใจ และจะต้องได้รับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทั้งก่อนและหลังการตรวจเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกัน และการรักษาหากผู้ตรวจพบเชื้อ แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่การติดเชื้อก็ไม่ได้ทำให้คุณเสียชีวิตทันที และตัวยาที่ถูกพัฒนาด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในตอนนี้ ก็ช่วยให้ผู้ที่มีเชื้อสามารถอยู่ร่วมกับไวรัสเอชไอวีได้อย่างมีสุขภาพดีครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ