HIV กับวิธีป้องกันในปี 2024

HIV Prevention 2024
HIV Prevention 2024

ในการต่อสู้กับ HIV อย่างยาวนาน การพัฒนาวิธีป้องกันนั้นมีบทบาทสำคัญในการลดอัตราการแพร่เชื้อและปรับปรุงสุขภาพของผู้คนโดยรวม ในปี 2024 การพัฒนาล่าสุดในกลยุทธ์ป้องกันเอชไอวีส่งผลกระทบต่อชุมชนทั่วโลกการดำเนินการต่อไปในการป้องกันเอชไอวี ในปี 2024 ต้องเน้นไปที่การเข้าใจและการรับรู้ของประชากรทั่วไปเกี่ยวกับความเสี่ยงและวิธีการป้องกันเอชไอวี การศึกษาและการแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ PrEP และ PEP มีความสำคัญอย่างมากเพื่อให้รับรู้ถึงตัวเลือกที่มีอยู่และสามารถทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เข้าใจเกี่ยวกับ HIV

Human Immunodeficiency Virus หรือเอชไอวี คือไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นปัญหาสำคัญในด้านสุขภาพทั่วโลก เมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย มันจะทำลายเซลล์ (CD4 cells) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อมีจำนวนของเซลล์ CD4 ลดลงมากพอ ร่างกายจะไม่สามารถต้านทานโรคและการติดเชื้ออื่น ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อเอชไอวี สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน :การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางในชายกับชายหรือชายกับหญิง เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
  • การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ:การมีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆนั้นทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีสูงเนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าคู่ของเรามีเชื้อเอชไอวีหรือไม่ซึ่งนั่นทำให้เกิดความเสี่ยงมาก
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น :การใช้เข็มยาฉีดสารเสพติดร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีการล้างเข็มฉีดหรือใช้เข็มฉีดที่ไม่สะอาด
  • การติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกระหว่างการคลอด :การตั้งครรภ์และการคลอดโดยแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้มีโอกาสส่งผ่านเชื้อไวรัสไปยังทารกได้

หากติด HIV แล้วควรทำอย่างไร

หลังจากที่คุณทราบว่าตรวจพบเชื้อเอชไอวี ควรพบแพทย์อย่างรวดเร็วเพื่อเริ่มการรักษาที่เหมาะสม การเริ่มรักษาอย่างรวดเร็วสามารถช่วยควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและลดความเสี่ยงในการเป็นโรค AIDS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยากลุ่ม Antiretroviral Therapy (ART) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่สำคัญสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ART ช่วยควบคุมการเจริญเติบของเอชไอวี และลดการส่งต่อเชื้อไวรัส และควรปฎิบัติตามวิธีการทานยาอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

HIV

การป้องกันเอชไอวีในปัจจุบัน

การใช้ถุงยางอนามัย

การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีการป้องกันที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุด ในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis)

PrEP เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คู่ที่มีคู่สมรสที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือบุคคลที่มีกิจกรรมเพศที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งใช้ก่อนรับความความเสี่ยงและไม่มีเชื้อเอชไอวีเท่านั้น

การตรวจ HIV

การตรวจเอชไอวีเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น การทราบสถานะเอชไอวีของตนเองช่วยให้สามารถรับการรักษาได้ทันท่วงที และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสให้แก่ผู้อื่น

PEP(Post-Exposure Prophylaxis)

PEP เป็นการให้ยาต้านไวรัส หลังจาก เหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี เช่น การโดนเข็มฉีดยาที่มีเลือดของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี การเริ่มรับยา PEP โดยเร็วหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรับรู้และการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธภาพ

การเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับเอชไอวี และการป้องกันมีความสำคัญในการลดการแพร่กระจายของโรค การศึกษาและการเข้าถึงบริการที่สะดวกสำหรับ PrEP และ PEP เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงการป้องกันและรักษาได้

HIV

ประโยชน์ของการป้องกัน HIV

ประโยชน์ของการป้องกันเอชไอวี ทำให้มีการติดเชื้อใหม่น้อยลง ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์สุขภาพทางเพศที่ดีขึ้นสำหรับแต่ละบุคคล เนื่องจากไม่ต้องพบกับภาวะทางร่างกายและอารมณ์จากการมีเชื้อเอชไอวี ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ โดยการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จะลดความจำเป็นในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี รวมถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ART) และการรักษาโรคที่เกี่ยวกับ AIDS จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้

อนาคตการป้องกันเอชไอวีจะเป็นอย่างไร

ความก้าวหน้าในการรักษาและการป้องกัน การรักษาด้วยยาต้านไวรัสยังคงเป็นหลักการในการรักษาเอชไอวีด้วยการศึกษาและพัฒนาต่อไป มีการใช้วิธีการรักษาใหม่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำเสนอการป้องกันไวรัสที่ดีกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยลง นอกจากนี้ แนวคิดของ “การรักษาเพื่อการป้องกัน” (TasP) ได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยเน้นความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยและเริ่มการรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายต่อไป

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันเอชไอวี

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันเอชไอวีมีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน โดยมีหลายวิธีที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ได้ดังนี้:

  1. แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการส่งเสริมการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูล: การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชันมือถือ หรือสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อการส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับเอชไอวี และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและการรักษาเชื้อไวรัส มีความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลและเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์
  2. การตรวจเอชไอวีแบบออนไลน์: เทคโนโลยีที่ทำให้สามารถส่งผลตรวจเอชไอวี แบบออนไลน์หรือผ่านแอปพลิเคชันได้ มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการสำหรับผู้คนที่อาจมีความไม่สะดวกหรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการแบบออนไซด์ได้
  3. การใช้แอปพลิเคชันสำหรับการติดตามและการเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึง PrEP: แอปพลิเคชันสามารถใช้เพื่อช่วยในการติดตามและจัดการการทานยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) ที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีนอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันที่จะช่วยในการเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับ PrEP และอื่นๆ
  4. การใช้แอปพลิเคชันเพื่อการค้นหาบริการทางการแพทย์: การใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการค้นหาบริการทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้และเป็นมิตรต่อกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด หรือบริการที่เชื่อถือได้สำหรับการตรวจเอชไอวีและรับการรักษาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวีและรวบรวมคลินิกบริการตรวจเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั่วประเทศไทย ทั้งหมดไว้ที่นี่ LOVE2TEST

การป้องกันเอชไอวีในปี 2024 ต้องการการร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม การเข้าใจและการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันที่มีอยู่ การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพการใช้งานแบบหลากหลาย มุ่งเน้นสู่ความสำเร็จ เริ่มจากมาตรการทางการแพทย์จนถึงกลยุทธ์เช่น PrEP และ TasP มีเครื่องมือหลากหลายให้ใช้งานในการต่อสู้กับการแพร่กระจายของเอชไอวี และการลดความความเสี่ยงโดยการกำจัดปัจจัยที่สร้างความเสี่ยง จะทำให้เราสามารถก้าวไปสู่อนาคตที่การติดเชื้อเอชไอวีน้อยลงและทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาและการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้

Undetectable = Untransmittable | ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

Undetectable = Untransmittable ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่
Undetectable = Untransmittable ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

เอชไอวี เมื่อเข้าไปสู่ร่างกายจะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ หากผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (Undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้(Untransmittable)

U=U คืออะไร ?

  • U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ
  • U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ คือ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แล้วกินยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้มีจำนวนลดลงจนถึงระดับที่ ไม่สามารถตรวจหาไวรัสในเลือดพบ คือ ผลการตรวดวัดเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อมีค่าน้อยกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด และมีหลักฐานชัดเจนว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง

ทำไมถึงตรวจเอชไอวีไม่เจอ ?

ตรวจไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไปผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางบุคคลอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไป ซึ่งการตรวจเอชไอวีที่ดีนั้น จะมีระยะเวลา และวิธีที่เหมาะสม และเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมา โดยประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับความเสี่ยง ถึงจะค่อนข้างน่าเชื่อถือ สำหรับการตรวจรอบแรก การตรวจเอชไอวีรอบแรกหากตรวจไม่พบ ก็ควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้
ตรวจไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัสผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ จึงไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้
ข้อดีของ U = U

ข้อดีของ U = U

สำหรับคนทั่วไป

ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือผู้ที่ไม่เคยไปตรวจเลือดเลย กล้าที่จะไปตรวจและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาในทันทีหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่รักษาจนตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ป่วยแล้ว ยังสามารถมีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป

สำหรับสังคม 

เมื่อสังคมมีความเข้าใจเรื่อง U = U แล้ว อาจทำให้การรังเกียจ และกีดกันผู้ติดลดลง สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่มีเหตุผลในการห้ามไม่ให้เข้าทำงาน เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาแล้ว ไม่เป็นอันตรายต่อคู่นอนของเขาแม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ตาม และไม่เป็นอันตรายต่อคนในที่ทำงาน อีกทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเท่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ติดเชื้อ และไม่เพิ่มภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับองค์กร เพราะรัฐรับภาระการรักษาพยาบาลให้ผู้ติดเชื้อทุกคน

สำหรับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี

มีแรงจูงใจในการกินยาต่อเนื่อง หมั่นไปตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดทุกปีตามสิทธิ์ และทำให้รับรู้สถานะของตนว่า ตรวจไม่เจอจริงหรือไม่ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น มีครอบครัวได้ สุขภาพจิตดีขึ้น มีความมั่นใจตนเองมากขึ้น กล้าตัดสินใจเปิดเผยผลเลือดของตนให้คู่นอนทราบ กล้าชวนคู่ไปตรวจเอชไอวี กล้าตัดสินใจตั้งครรภ์ และเลิกโทษตัวเองว่าอาจเป็นเหตุทำให้คู่ของตนติดเชื้อ เพราะไม่สามารถใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง รวมถึงลดความกลัวในการคุยกับหมอ เช่น หากหมอถามว่าใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งหรือเปล่า ก็ตอบว่าใส่ทุกครั้งเพราะเกรงใจหมอ ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ทุกครั้ง

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี จะต้องรับประทานยาให้ตรงเวลา รวมไปถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ทำให้เกิดการรับเชื้อใหม่ ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสนานกว่า 6 เดือนขึ้นไปจะอยู่ในสถานะ Undetectable = Untransmittable (U=U) หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยมีการตรวจสอบแล้วว่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก 

U = U (ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่)

U = U (ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่)
U = U (ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่)

เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าไปสู่ร่างกาย จะเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่ร่างกาย จึงทำให้ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนในที่สุด ร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าไปสู่ร่างกายได้ และอาจเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ เช่น วัณโรค เชื้อรา ปอดบวม เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ป่วยจะมีปริมาณของไวรัส ในเลือดมากกว่า 200-1,000 ตัว ต่อซีซีของเลือด แต่ะเมื่อได้เข้ารับการรักษา ทำให้มีปริมาณของเชื้อไวรัส ในเลือดต่ำกว่า 50 ตัวต่อซีซีของเลือด โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราจะเรียกกันว่า ตรวจไม่เจอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เชื้อที่อยู่ภายในร่างกายได้หมดไปแล้ว เพียงแต่ จะมีปริมาณที่เหลือน้อยมาก ๆ จนทำให้ตรวจไม่เจอ

U=U คืออะไร

U = U หรือ Undetectable = Untransmittable  หรือ ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่

U ตัวแรกคือ Undetectable หมายถึง ตรวจไม่เจอเชื้อ

U ตัวที่สองก็คือ Untransmittable หมายถึง ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 

หมายถึง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แล้วกินยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว และทานยาตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้มีจำนวนลดลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจหาไวรัสในเลือดพบ คือ ผลการตรวดวัดเชื้อเอชไอวีในเลือดของผู้ติดเชื้อมีค่าน้อยกว่า 50 copies/mm3 (อาจมีค่าน้อยกว่า 40 หรือ 20 copies/mm3 ขึ้นกับความสามารถของชุดตรวจ)  และมีหลักฐานชัดเจนว่า คนเหล่านี้จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเอง แม้จะไม่ได้หายขาดจากโรคเอดส์ หรือทางเพศสัมพันธ์แม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัย

ตรวจเอชไอวี ไม่เจอ เป็นเพราะอะไร

การที่จะสามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้นั้น จะต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอสมควร คือ ต้องมีปริมาณไวรัสในเลือดตั้งแต่ 200 – 1,000 copies/ซีซีของเลือด จึงจะสามารถแพร่เชื้อได้  กรณีที่จะตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

1. กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เพราะตรวจเร็วเกินไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมา บางบุคคลอาจจะใจร้อน รีบตรวจเกินไป ซึ่งการตรวจเอชไอวีที่ดีนั้น จะมีระยะเวลา และวิธีที่เหมาะสม และเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมา โดยประมาณ 1 เดือนหลังจากได้รับความเสี่ยง ถึงจะค่อนข้างน่าเชื่อถือ สำหรับการตรวจรอบแรก การตรวจเอชไอวีรอบแรกหากตรวจไม่พบ ก็ควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่พบเชื้อถึงจะสามารถปิดเคสได้

2. กรณีตรวจเอชไอวี ไม่พบเชื้อ เนื่องจากรับประทานยาต้านไวรัส ผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วัน มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป อาจจะตรวจไม่เจอเชื้อ (undetectable) เพราะปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำกว่า 50 coppies / ซีซีของเลือด ซึ่งมีปริมาณน้อยจนตรวจไม่พบ และไม่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ 

การมีเพศสัมพันธ์แบบหลายคู่นอนของกลุ่มคน U = U มีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร

ความเสี่ยงยังมีอยู่ เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม U = U อาจจะป้องกันความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ยังมีความเสียงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่สามารถป้องกันได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยในกลุ่มคน U = U

ถ้าจะไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับคู่ของตนเอง เพราะเหตุจำเป็น เช่น ไม่มีถุงยาง ถุงยางแตก หรืออยากมีบุตรตามธรรมชาติ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นกังวลหรือโทษตัวเอง และเป็นการทำให้ผู้ติดเชื้อมีความมั่นใจและชีวิตครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ส่วนการตัดสินใจว่าจะใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม และการยินยอมพร้อมใจกันของคนทั้ง 2 คน ว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร เป็นกังวลเรื่องอะไร เช่น เป็นกังวลเรื่องตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ การอยู่ในสถานะตรวจไม่เจอเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ ถ้าไม่ใส่ถุงยางอนามัย  เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้

การติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อนในกลุ่มคน U=U

ตั้งแต่มีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสอย่างแพร่หลายในปจจุบัน พบว่ายังไม่มีรายงานการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำซ้อน หรือติดเชื้อดื้อยา จากคนอื่นในผู้ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พอเชื้อแล้วเลย

U=U เหมาะกับใคร

U=U เหมาะกับใคร?

  • เหมาะกับคนที่ติดเชื้อเอชไอวีที่กินยาอย่างถูกต้อง ที่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่ถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีให้ใครได้อย่างแน่นอน
  • เหมาะกับคู่ของคนที่ติดเชื้อเอชไอวี U=U แล้ว เพราะ มั่นใจได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด

ประโยชน์ของ U = U

  • สำหรับผู้ติดเชื้อ มีแรงจูงใจในการกินยาต่อเนื่อง หมั่นไปตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดทุกปีตามสิทธิ์ และทำให้รับรู้สถานะของตนว่า ตรวจไม่เจอจริงหรือไม่ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น มีครอบครัวได้ สุขภาพจิตดีขึ้น มีความมั่นใจตนเองมากขึ้น กล้าตัดสินใจเปิดเผยผลเลือดของตนให้คู่นอนทราบ กล้าชวนคู่ไปตรวจเอชไอวี กล้าตัดสินใจตั้งครรภ์ และเลิกโทษตัวเองว่าอาจเป็นเหตุทำให้คู่ของตนติดเชื้อ เพราะไม่สามารถใส่ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง รวมถึงลดความกลัวในการคุยกับหมอ เช่น หากหมอถามว่าใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งหรือเปล่า ก็ตอบว่าใส่ทุกครั้งเพราะเกรงใจหมอ ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงทำไม่ได้ทุกครั้ง

  • สำหรับคนทั่วไป ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือผู้ที่ไม่เคยไปตรวจเลือดเลย กล้าที่จะไปตรวจและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาในทันทีหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี นำไปสู่รักษาจนตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ป่วยแล้ว ยังสามารถมีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป

  • สำหรับสังคม  เมื่อสังคมมีความเข้าใจเรื่อง U = U แล้ว อาจทำให้การรังเกียจ และกีดกันผู้ติดลดลง สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษา ไม่มีเหตุผลในการห้ามไม่ให้เข้าทำงาน เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาแล้ว ไม่เป็นอันตรายต่อคู่นอนของเขาแม้จะไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ตาม และไม่เป็นอันตรายต่อคนในที่ทำงาน อีกทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุขัยเท่าคนอื่น ๆ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กรได้ไม่แตกต่างจากคนที่ไม่ติดเชื้อ และไม่เพิ่มภาระค่ารักษาพยาบาลให้กับองค์กร เพราะรัฐรับภาระการรักษาพยาบาลให้ผู้ติดเชื้อทุกคน  

การทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อHIV ที่เป็นกลุ่ม U=U

คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีต่อเนื่องตรงเวลาจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จึงจะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้ แต่ความเป็นจริงเชื้อยังคงอยู่ในเลือดอยู่ และผู้ติดเชื้อยังต้องกินยาต้านไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด แต่การทานยาต้านก็เป็นเพียงการรักษา และป้องกันเอชไอวีเท่านั้น 

แต่อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เมื่อไม่มีการใช้ถุงยางอนามัย ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะ กรณีแม่ที่ติดเชื้อแม้ผลเลือดจะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ยังคงต้องกินยา ลูกที่คลอดออกมาก็ต้องกินยาป้องกันเหมือนเดิม รวมไปถึงการที่แม่ผู้ติดเชื้อไม่สามารถให้นมบุตรได้ เพราะเชื้อเอชไอวียังถูกส่งผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกได้อยู่ถึงแม้ว่าผลเลือดของแม่จะเป็นตรวจไม่เจอเชื้อ ก็ตาม  และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ

เพราะฉะนั้นการไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีเร็วจึงมีประโยชน์ ทำให้ทราบสถานะผลเลือดโดยเร็ว เมื่อผลเลือดบวกก็เข้าสู่การรักษาโดยเร็ว ทำให้มีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนที่ไม่มีเชื้อ และต้องเน้นย้ำกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ผลเลือดตรวจไม่เจอเชื้อ แต่ในร่างกายยังคงมีเชื้อเอชไอวี หากยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ การใช้ยา PrEP / PEP ก็ไม่สามารถให้ผลป้องกันได้ 100% และการใช้ถุงยางอนามัยยัง ก็ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่ถึงแม้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง?
ความสัมพันธ์ของค่า CD4 กับ Viral load ในผู้ป่วยเอชไอวี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ข้อเท็จจริง : เรื่อง U = U https://www.redcross.or.th/news/information/9847/
  • รู้ทันเอชไอวี U=U คืออะไร https://th.trcarc.org/uu-คืออะไร/
  • ตรวจเอดส์ ไม่เจอ เกิดขึ้นจากอะไร https://www.thaihivtest.com/ตรวจเอดส์-ไม่เจอ/
  • U=U คืออะไร และการทำความเข้าใจกับผู้ติดเชื้อ HIV https://mobile.swiperxapp.com/pmt-article-uu-hiv/

วิธีการรับมือกับผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี
ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้านไวรัสเอชไอวี ถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเริ่มกินยาต้านไวรัสเอชไอวีโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการรักษาตัวผู้ติดเชื้อไวรัสเอชเอชไอวีเอง และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวีไปสู่ผู้อื่น 

ยาต้านไวรัสคือ

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี

Exposure prophylaxis เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงโรคอื่น โดยก่อนการรับยาต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากประวัติของคนไข้ว่าตรงตามเงื่อนไขการรับยาหรือไม่ ประกอบกับการตรวจเลือดตามมาตรฐานสากล(คนไข้ที่จะรับยาจะต้องมีผล เอชไอวี เป็นลบ) และยาในกลุ่มนี้ต้องพิจารณาจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

ซึ่งจะใช้ช่วงก่อนหรือหลังจากการสัมผัสเชื้อเอชไอวี สำหรับยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อนั้น เรียกว่ายา PrEP ซึ่งย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis (ยาต้านก่อนเสี่ยง) และยาที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากสัมผัสเชื้อนั้น เรียกว่ายา PEP โดยย่อมาจาก Post -Exposure Prophylaxis (ยาต้านฉุกเฉิน)

ยาต้านไวรัสเอชไอวีมี 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. Reverse transcriptase inhibitors ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส (reverse transcription) ยากลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม
    • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ได้แก่ Abacavir (ABC), Didanosine (ddI), Emtricitabine (FTC), Lamivudine (3TC), Stavudine (d4T), Tenofovir (TDF), Zalcitabine (ddC), Zidovudine (AZT)
    • Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ Delavirdine (DLV), Efavirenz (EFV), Etravirine (ETR), Nevirapine (NVP), Rilpivirine (RPV)
  2. Protease inhibitors (PIs) ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส ยากลุ่มนี้ได้แก่ Darunavir (DRV), Indinavir (IDV), Nelfinavir (NFV), Ritonavir (RTV), Saquinavir (SQV), Kaletra® (lopinavir/ritonavir, LPV/r), Reyataz® (atazanavir/ritonavir, ATV/r) เป็นต้น
  3. Integrase strand transfer inhibitors (INSTIs) ยับยั้งไม่ให้ DNA ของไวรัสรวมตัวกับ DNA ของคน ยากลุ่มนี้ได้แก่ Dolutegravir (DTG), Elvitegravir (EVG), Raltegravir (RAL) เป็นต้น
  4. Entry/Fusion inhibitors ยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่ Enfuvirtide (INN), Maraviroc (EVG) เป็นต้น

3. ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่ละชนิด ดังนี้

Zidovudine (AZT, ZDV) ยาต้านไวรัสที่ช่วยไม่ให้เชื้อเอชไอวีเพิ่มจำนวน และใช้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีถ่ายทอดเชื้อไปยังทารก

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้ อาเจียน
  • • เป็นไข้ เจ็บคอ
  • • ปวดศีรษะ
  • • โลหิตจาง
  • • ลมพิษ
  • • หายใจติดขัด 
  • • บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ
  • • เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ
  • •แสบร้อนที่ดวงตา ปวดผิว
  • • ผิวและเล็บอาจมีสีคล้ำ

Lamivudine (3TC) เป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวี เช่น การติดเชื้อบางชนิด และมะเร็ง เป็นต้น 

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส
  • • ปวดศีรษะ
  • • ตับออนอักเสบ

Didanosine (ddI) ใช้ในการรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีซึ่งทำให้เกิดโรคเอดส์หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ยาไดดาโนซีนไม่สามารถรักษาภาวะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องให้หายขาดได้ แต่อาจช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส
  • • อาเจียน
  • • ท้องเสีย
  • • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • • ตับอ่อนอักเสบ

Stavudine (d4T) รักษาโรคตดิเช้ือ HIV ซ่ึงไมส่ ามารถทนตอ่ หรือด้ือตอ่ ยาอื่นๆ หรือใช้ยาอื่นไม่ ได้ผล

ผลข้างเคียง

  • • ชาปลายมือ ปลายเท้า
  • • ระดับแลคเตทในเลือดสูง
  • • ตับออนอักเสบ
  • • แก้มตอบ ไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • • ระดับไขมันในเลือดสูง

Abacavir (ABC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NRTI) ที่แพทย์นำมาใช้ร่วมกับยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีชนิดอื่น ออกฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้ออื่น ๆ และการเกิดมะเร็ง 

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้
  • • อาเจียน
  • • ท้องเสีย
  • • ภาวะภูมิไวเกิน

Tenofovir (TDF) เป็นยาต้านไวรัส ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อาจใช้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อรักษาควบคู่กัน แต่ยานี้อาจไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสทั้งหมด เพียงแต่ช่วยควบคุมโรคเท่านั้น

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้
  • • อาเจียน
  • • ท้องอืด แน่นท้อง
  • • ท้องเสีย

Tenofovir+emtricitabine (TDF/FTC) ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของยาสูตรผสมที่ต้องรับประทานคู่กันเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส้
  • • อาเจียน
  • • ท้องอืด แน่นท้อง
  • • ท้องเสีย
  • • ปวดศีรษะ
Efavirenz (EFV)

Efavirenz (EFV) เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวี โดยยาจะช่วยลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมะเร็งหรือการติดเชื้ออื่น ๆ 

ผลข้างเคียง

  • • วิงเวียนศีรษะ
  • • ง่วงนอน
  • • อาการนอนไม่หลับ
  • • อาการสับสน 

Etravirine (ETR) เป็นยาใหม่ในกลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) ที่กำลังพัฒนาสำหรับใช้ในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
    • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • • คลื่นไส้ 

Nevirapine (NVP) รักษาอาการติดเชื้อเอชไอวี เป็นยาในกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • • ตับอักเสบ อาจรุนแรงถึงตับวายเฉียบพลัน

Rilpivirine (RPV) เป็นยากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)

ผลข้างเคียง

  • • ปวดศีรษะ
  • • อาการนอนไม่หลับ
  • • ผื่นแพ้ 
    • ซึมเศร้า 

Atazanavir sulfate (ATV)  ใช้สำหรับการรักษา, ควบคุม, ป้องกันและรักษาอาการและสภาพของการติดเชื้อเอชไอวีให้ดีขึ้น

ผลข้างเคียง

  • • ภาวะตัวเหลือง 
  • • คลื่นไส้
  • • ผื่นแพ้ 
  • • ท้องเสีย
  • • ปวดศีรษะ 

Ritonavir (RTV) เป็นยาต้านไวรัสที่มักใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษาการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ลดปริมาณเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อเอชไอวีอย่างการติดเชื้อต่าง ๆ และโรคมะเร็ง 

ผลข้างคียง

  • • Gastrointestinal side effect คลื่นไส้ , อาเจียน, ท้องเสีย
  • • ระดับไขมันในเลือดสูง 
  • • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 
  • • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  

Lopinavir/ritonavir (LPV/r) ใช้ร่วมกับยาต้านรีโทรไวรัสตัวอื่นๆ ในการรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • • คลื่นไส
    • อาเจียน
    • ท้องเสีย
    • ระดับไขมันในเลือดสูง  
  • • ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง 
    • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 

Darunavir (DRV)  เป็นยาต้านไวรัสอยู่ในกลุ่ม ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ใช้รักษาโรคติดเชื้อ HIV-1

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ 
  • • คลื่นไส้
  • • ท้องเสีย
  • • ปวดศีรษะ 

Saquinavir (SQV) ใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) และยารักษาโรคเอชไอวีอื่นๆ เพื่อควบคุมอาการติดเชื้อเอชไอวี โดยลดปริมาณของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการแทรกซ้อนของเอชไอวี

ผลข้างเคียง

  • • ท้องเสีย
  • • คลื่นไส้
  • • ปวดท้อง 

Maraviroc (MVC) ป็นยาต้านไวรัสในกลุ่มตัวรับ CCR5 ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

ผลข้างเคียง

  • • ปวดท้อง 
    • ไอ 
    • วิงเวียนศีรษะ 
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
    • อาการไข้ ตัวร้อน  
  • • ผื่น 

Raltegravir (RAL) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Integrase inhibitor ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่ยังไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน

ผลข้างเคียง

  • • ผื่นแพ้ อาจรุนแรง ถึง Steven Johnson Syndrome
  • • ภาวะภูมิไวเกิน 
  • • คลื่นไส้
  • • ปวดศีรษะ 
  • • ท้องเสีย
  • • อาการไข้ ตัวร้อน 
อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแรง

สรุปอาการข้างเคียงจากการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี

  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและไม่รุนแร พบได้และอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีผื่นขึ้นเล็กน้อย 
  • อาการข้างเคียงในระยะสั้นและรุนแรง เช่น ภาวะซีด ตับหรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ชาปลายมือปลายเท้า นิ่วในไต ซึ่งอาจพบได้ทุกช่วงของการกินยา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่รีบแก้ไข
  • ดังนั้น ต้องมีการติดตามอาการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยมีการตรวจสุขภาพ และผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องได้ ต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์ให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง
  • อาการข้างเคียงในระยะยาว มักพบหลังจากกินยาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป บางรายพบได้ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี  อาการข้างเคียงในระยะยาว เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การกระจาย และสะสมของไขมันผิดปกติและผิดที่ มีไขมันพอกที่ต้นคอ ลำตัวอ้วน แขนขาลีบ แก้มตอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาต้านไวรัสเอไชวี (ARV) คืออะไร

ตรวจเอชไอวีไม่เจอ มาจากสาเหตุใดบ้าง?

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ยาต้านไวรัสเอดส์ (Antiretrovirals) http://mutualselfcare.org/medicine/medicative/antiretrovirals.aspx?M=k&G=a
  • ยาต้านเอชไอวี
    http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/bms_arvdrug.pdf
  • อาการข้างเคียงและอาการแพ้ยา
    https://www.mplusthailand.com/hivaids/ยาต้านไวรัส/อาการข้างเคียงและอาการ/