ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม

ข้อแตกต่างระหว่างหนองในแท้ และ หนองในเทียม

หนองใน (Gonorrhoea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หนองในแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่ หนองในแท้ และ หนองในเทียม โดยจะแตกต่างกันตรงที่ สาเหตุของการติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อคนละชนิดกัน

  1. หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea ระยะการฟักตัวของโรคประมาณ 1 – 10 วัน
  2. หนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis ระยะการฟักตัวของโรค 10 วันขึ้นไป

อาการหนองในแท้ และ หนองในเทียม

  • อาการหนองในแท้ ในเพศชาย มีอาการปัสสาวะแสบขัด รวมทั้งมีหนองสีขาวขุ่นข้นไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ในช่วงแรกๆหนองอาจจะไม่ขุ่นเยอะแค่ไหน แต่ว่าถ้าหากไม่ได้รับการรักษาตะทำให้หนองขุ่นขึ้น
  • อาการหนองในแท้ ในเพศหญิง จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวปริมาณมากรวมทั้งมีกลิ่นเหม็นแรง มีการอักเสบที่ปากมดลูกและก็ท่อปัสสาวะหากไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้โรคลุกลามจนกระทั่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ สภาวะตันในท่อรังไข่ทำให้เป็นหมันหรือมีการท้องนอกมดลูก
  • อาการหนองในเทียม ในเพศชาย ระยะเริ่มต้นอาจจะแค่เพียงรู้สึกคันที่ท่อปัสสาวะ หรือมีน้ำใสๆต่อมาจะเริ่มข้นขึ้นแล้วไหลออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยหนองของโรคนี้จะไม่ข้นเท่าหนองในแท้
  • อาการหนองในเทียม ในเพศหญิง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นอย่างเห็นได้ชัด แต่มีแค่เพียงอาการคันและก็มีตกขาว อาจมีลักษณะของการปวดแสบร้อนขณะปัสสาวะร่วมด้วยซึ่งตรวจวิเคราะห์และก็รักษาได้ยาก

หนองใน อันตรายไหม?

หนองใน อันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถทำให้ต่อมต่างๆ บริเวณท่อปัสสาวะอักเสบ หรืออันตรายในเด็กทารกแรกเกิดที่อาจติดเชื้อจากมารดาขณะคลอดได้  และขึ้นอยู่กับความใส่ใจดูแลสุขภาพ หากละเลย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น โรคข้ออักเสบติดเชื้อจากหนองใน อีกทั้งยังจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิส ได้มากกว่าคนทั่วไป สามารถรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

ภาวะแทรกซ้อนของหนองใน

ภาวะแทรกซ้อนในทารก

การได้รับเชื้อหนองในจากมารดา ระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการมองเห็นของทารกจนทำให้ตาบอด และเกิดการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกได้

ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย

หนองในที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้มีภาวะอัณฑะอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบของท่อม้วนขนาดเล็กในส่วนหลังของลูกอัณฑะที่มีท่ออสุจิอยู่ โดยภาวะอัณฑะอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษานี้สามารถนำไปสู่การเกิดภาวะมีบุตรยากในที่สุด

ภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง

เชื้อหนองในสามารถแพร่กระจายไปยังมดลูก และท่อนำไข่ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อและอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพังผืดที่ท่อนำไข่ เสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก อาการปวดเชิงกรานระยะยาว ภาวะมีบุตรยาก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด เยื่อบุตาทารกอักเสบ เป็นต้น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานจึงถือเป็นการติดเชื้อชนิดร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

เสี่ยงต่อติดเชื้อเอชไอวีหรือเชื้อเอดส์

หนองในจะส่งผลให้ผู้ป่วยไวต่อการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นไวรัสที่นำไปสู่โรคเอดส์ และผู้ที่ติดเชื้อทั้งโรคหนองในแท้และโรคเอชไอวีจะสามารถแพร่กระจายโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ไปสู่คู่นอนของตนเองได้รวดเร็วกว่าปกติ

การติดเชื้อแพร่ไปยังข้อต่อและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

เชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของหนองใน สามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ส่งผลให้มีการติดเชื้อที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หนึ่งในนี้คือการติดเชื้อบริเวณข้อต่อซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บผิวหนัง ปวดข้อต่อ เป็นไข้ ผื่นขึ้น บวม และรู้สึกเมื่อยตามมา ทั้งนี้การติดเชื้อบางบริเวณยังอาจเป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดหนองใน

  1. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. ผู้ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  3. ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  4. ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  5. ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

การป้องกันหนองใน

  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือการงดมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด (ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก)
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ
  • หากมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

เป็นหนองในรักษาหายไหม?

หนองใน สามารถรักษาหายได้ แต่ถ้าหากรักษาจนหายแล้ว เบื้องต้นผู้ที่เคยเป็นหนองในต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นหนองในซ้ำอีกได้

การรักษาหนองใน

การรักษาหนองใน

หนองใน รักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporin และ Quinolone อาจเป็นชนิดรับประทานหรือชนิดยาฉีด ยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Cefixime, Ceftriaxone, Ciprofloxacin, Ofloxacin, Levofloxacin ทั้งนี้ การรักษาหนองในจะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยที่จะต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตน รวมทั้งตรวจซ้ำตามแพทย์แนะนำ

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหนองใน

  • งดมีเพศสัมพันธ์รวมถึงสำเร็จความใคร่จนกว่าจะรักษาหาย
  • พาคู่นอนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ไปตรวจหาเชื้อหนองใน
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ และทำให้แห้งอยู่เสมอ 
  • ไม่ควรรีดหนองด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบจน
  • เข้ารับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำสั่งแพทย์
  • รีบพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
  • ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง 
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • หากได้รับการรักษาแล้ว แต่มีอาการที่คล้ายกับว่าจะแพ้ยา ควรรีบไปพบแพทย์
  • เมื่อรักษาตามอาการจนครบแล้ว ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าเชื้อหนองในหายสนิท

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม