เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนการสัมผัสโรค หรือสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV แต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น ไม่ใส่ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์ มีคู่นอนหลายคน ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อประมาณร้อยละ 90 แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ โดยแพทย์จะให้กินยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด อย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา โดยแพทย์จะนัดทุก 3 เดือน ซึ่งหากแพทย์เห็นว่าไม่มีความเสี่ยงแล้ว ก็จะสั่งให้หยุดการใช้ยา
เพร็พ (PrEP) เหมาะสมกับใครบ้าง
แม้ว่าประสิทธิภาพของยาคือการช่วยต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ยาประเภทนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน หากใครที่ต้องการใช้ยาต้านไวรัสจะต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน โดยกลุ่มผู้มีความเสี่ยงและเหมาะสมที่จะทานยาประเภทนี้ ได้แก่ กรณีที่มีเพศสัมพันธ์ร่วมกับคู่นอนที่มีความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหนองใน ผู้ที่ประกอบอาชีพขายบริการหรือสุ่มเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ในบางกรณีจะถูกนำมาใช้กับผู้ที่เสี่ยงสัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 3 วัน เช่น กรณีของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ กรณีถุงยางอนามัยฉีกขาดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงในกรณีที่มีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งได้แก่
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- รักร่วมเพศ
- ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
- ผู้ที่ใช้สารเสพย์ติดชนิดฉีด
วิธีการรับเพร็พ (PrEP) แบบง่ายๆ
ผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจเอชไอวี และการทำงานของตับและไต โดยการเข้ารับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากที่ได้รับยาเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจ HIV ทุก 3 เดือน หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาเพร็พ (PrEP) ทุกครั้ง นอกจากนี้ยาเพร็พ (PrEP) ยังมีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงโดยปกติที่พบบ่อยช่วงแรกของการกินยาคืออาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ และรู้สึกอ่อนเพลียบ้าง แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นหลังกินยาไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้หากเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ นอกเหนือจากนี้แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการขอคำปรึกษาเพื่อความปลอดภัยในการทานยาในครั้งต่อๆ ไป
ประสิทธิภาพของยาเพร็พ :
ถึงแม้ยาเพร็พจะได้ชื่อว่ามีผลช่วยต้านการได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ผลการทดสอบในปัจจุบันพบว่า ยาเพร็พยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นในการรับประทานควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน สำหรับเรื่องของผลข้างเคียงในยาเพร็พที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาจจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะได้เล็กน้อยในช่วงแรกของการทานยา และมักจะดีขึ้นหลังกินยาไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามคนที่ใช้ยาเพร็พควรจะเข้ารับการตรวจเลือดทุกๆ 3 เดือน
ข้อควรระวัง :
สำหรับผู้ที่สนใจทานยาเพร็พเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานทุกครั้ง และควรมีการทานยาต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อประสิทธิภาพในการต้านทางเชื้อไวรัส แต่อย่างที่ทราบว่ายาเพร็พไม่สามารถป้องกันการรับเชื้อได้ 100% ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรให้ความสำคัญกับการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ร่วมกับการใช้ยา แต่หากใครที่ยังมีข้อสงสัย และอยู่ในกลุ่มผู้ที่เหมาะสมที่จะทานยาเพร็พ สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหนึ่งในช่องทางที่สะดวกสบาย เข้าถึงง่าย และไม่ต้องกังวลกับการเขินอายในการเข้ารับการตรวจ คือ การติดต่อมูลนิธิเพื่อรัก มูลนิธิที่ร่วมรณรงค์เรื่องการเรียนรู้และการเข้าใจด้านสุขอนามัยทางเพศที่ถูกต้อง โดยสามารถติดต่อขอคำแนะนำเพื่อปรึกษาลักษณะอาการที่เป็นอยู่ผ่านช่องทาง Line, Email รวมไปถึงการจองคิวเข้าตรวจอาการฟรี ได้ที่ www. love2test.org