CD4 กับViral load ในผู้ป่วยเอชไอวี

เมื่อเราติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว ไวรัสเอชไอวีจะเจาะเข้าไปในเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกัน เพื่อเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวี ทำให้ CD4 จำนวนลดลง  เมื่อ CD4  ลดลง ปริมาณ Viral Load เพิ่มขึ้น  เมื่อมีเชื้อเอชไอวี( HIV) อยู่ในร่างกายนานๆ  เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายมากขึ้นนั่นเอง

ค่า CD4 คืออะไร

CD4 cells ย่อมาจากคำว่า Cluster of Differentiation 4 บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells 

beefhunt

CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการจัดระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส

หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่า CD4 คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือภูมิต้านทานในร่างกายของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพียงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ในคนที่ร่างกายปกติก็มีเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือ CD4 เช่นเดียวกัน

เชื้อไวรัสเอชไอวี มีผลมาทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ที่สำคัญนี้โดยตรง จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่เป็นปกติเปิดโอกาสให้ภูมิคุ้มกันถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง ถ้าปล่อยไว้นานจนในที่สุดร่างกายจะไม่มี CD4 เซลล์มากพอที่จะต่อสู้ต้านทานเชื้อโรคและการติดเชื้อต่างๆ

ค่า VL หรือ Viral load คืออะไร

ค่า VL หรือ Viral load คือ ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือด 1 มิลลิลิตร (Cells/cu.mm) 

หากผู้ติดเชื้อเอชไวีกินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะทำให้ปริมาณของเชื้อเอชไอวีในเลือด เหลือน้อยกว่า 50 ตัว (ก๊อปปี้) ต่อ 1 มิลลิลิตรของเลือด (Viral load < 50 copies/ml) ทางการแพทย์จะเรียกว่า เป็นสถานการณ์ ควบคุมไวรัสได้ เป็นการควบคุมไม่ให้เชื้อไวรัสก๊อบปี้ตัวเพิ่ม  นั่นแสดงว่าเชื้อไวรัสเอชไอวี ในกระแสเลือด และของเหลวในร่างกายมีน้อยมากแล้วนั่นเอง

เมื่อไหร่ที่มีเชื้อเอชไอวีในเลือดสูง แสดงว่ายาที่ผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีกิน ไม่สามารถควขคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ (มีการก๊อบปี้ตัวเพิ่มขึ้น)  เพราะว่ายิ่งมีเชื้อเอชไอวีในร่างกายมาก ก็ยิ่งทำให้จำนวนของ CD4 ลดลง จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น

Viral Load Test

Viral Load Test การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส

Viral Load Test คือ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ติดเชื้อว่าสามารถควบคุมปริมาณไวรัสไม่ให้มากเกินอยู่ในระยะปลอดภัยต่อสุขภาพได้หรือไม่  และใช้เป็นเครื่องมือประเมินผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสว่าสามารถลดจำนวนของไวรัสในกระแสเลือดลงได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่

หลักการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เชื้อเอชไอวีจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อเอชไอวีนั้นจะถูกสร้างโดย CD4 Cell  เมื่อเชื้อมีปริมาณมากเซลล์ CD4 Cell ก็จะต่ำ จึงควรเริ่มการรักษาก่อนที่ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลาย และนอกจากดูจำนวน CD4 Cell  แล้วก็ยังต้องดู viral load หรือปริมาณเชื้อที่อยูในกระแสเลือดด้วย หากพบ viral load มาก เชื้อในร่างกายก็จะมาก อวัยวะก็จะถูกทำลายมาก และเร็ว และที่สำคัญคือ อาจเกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย ดังนั้นเป้าหมายของการรักษาคือจะต้องทำให้ปริมาณเชื้อ (viral load) ในร่างกายมีน้อยที่สุด  การรักษาจะใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา จำไว้ว่าหากเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาอย่าหยุดยาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยลำพัง ให้ปรึกษาแพทย์เสมอ เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยา

การเลือกใช้ยารักษาผู้ติดเชื้อ

ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ปริมาณเซลล์ CD4 และปริมาณเชื้อเอชไอวี (Viral load)
  • ประวัติการรักษาโรคติดเชื้อ HIV
  • ปริมาณยาที่ใช้และราคายา
  • ผลข้างเคียงของยา
  • การออกฤทธิ์ต้านกันของยาที่ใช้ร่วมกัน

เมื่อไรถึงจะเริ่มรักษา

จะเริ่มการรักษาเมื่อค่า CD4 ลดลง และมีปริมาณเชื้อเอชไอวีมาก (viral load) การรักษาผู้ป่วยจะแยกเป็นกรณีที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

  • กรณีการรักษาผู้ป่วยหลังสัมผัสโรคติดเชื้อ HIV ( Post-Exposure Prophylaxis ) ควรทำภายใน 72 ชั่วโมง เช่น การที่เจ้าหน้าที่ถูกเข็มตำขณะทำงานโดยที่เข็มนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วยติดเชื้อเอชๆอวี หลังสัมผัสเชื้อทันทีจะไม่สามารถใช้วิธีการเจาะเลือดหา viral load หรือ antigen หรือ antibody ได้ เพราะจะยังหาไม่พบ
  • การให้ยาแก่คนที่สัมผัสโรคจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่ในกรณีของผู้ที่ร่วมเพศกับผู้ที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ยังไม่มีรายงานว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากแค่ไหน ดังนั้นผู้ที่สัมผัสโรคต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการใช้ยา หากต้องใช้จะเป็นเวลานานแค่ไหน และผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง
  • กรณี Primary Infection หมายถึง ภาวะตั้งแต่เริ่มได้รับเชื้อจนกระทั่งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพิ่มขึ้นจนสามารถตรวจพบได้ ช่วงระยะนี้มีเวลาประมาณ 12-20 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยในระยะนี้ต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าให้รับประทานตลอดชีวิต แต่บางท่านแนะนำให้รับประทานยา 24 เดือนแล้วลองหยุดยา
  • กรณีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic Patients with Established Infection ) การรักษาผู้ที่ติดเชื้อซึ่งไม่มีอาการยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ เป็นต้น
กินยาตามเวลาอย่างเคร่งครัด

การรักษา

ก่อนการรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวีในหลายแง่มุม รวมทั้งระยะของเชื้อ และอาการของโรค การดื้อยา ผลข้างเคียงของยา ราคายา การติดเชื้อโรคฉวยโอกาส เพื่อให้ผู้ติดเชื้อตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการรักษา และเมื่อผู้ติดเชื้อทำการรักษา แพทย์จะจ่ายยาที่เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อที่สุดเพื่อป้องกันการดื้อยา ผู้ติดเชื้อจะต้องปฎิบัติตามคำสั่งแพทย์ และต้องกินยาตามเวลาอย่างเคร่งครัด เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลง ซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้

เป้าหมายในการรักษา

เชื้อเอชไอี เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี จะทำให้เชื้อหยุด หรือชะลอการกลายเป็นโรคเอดส์  โดยมีเป้าหมายในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีดังนี้

  • เพื่อยืดอายุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในระยะยาว
  • หยุดการแบ่งตัวของไวรัสให้เหลือน้อยที่สุด(น้อยกว่า 50) และนานที่สุด
  • สามารถใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพให้นานที่สุด
  • ลดผลข้างเคียงของยา

ข้อสำคัญคือผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในระยะยาวโดยที่ไม่เกิดอาการ ทั้งที่ยังไม่ได้รักษา ดังนั้นผู้ป่วยบางรายยังไม่จำเป็นต้องรีบรักษาก็ได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์

การติดตามการรักษา

หลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แพทย์จะนัดตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินสิ่งต่อไปนี้

  • ดูประสิทธิผลของยา หากได้ผลดี CD4-T และ viral load ควรจะอยู่ในเกณฑ์ดี
  • ผลข้างเคียงของยา และปัญหาเกี่ยวกับผู้ป่วย
  • ดูการดำเนินของโรคว่าเชื้อกลายไปเป็นโรคเอดส์หรือยัง
  • ดูว่ามีโรคฉวยโอกาสเกิดขึ้นหรือยัง
  • ดูแลสุขภาพทั่วไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เอชไอวี (HIV) ติดต่อกันได้อย่างไร?
ยาต้านไวรัสเอไชวี (ARV) คืออะไร

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ค่า CD4 กับ Viral load มีความสัมพันธ์กันอย่างไร http://www.bim100-th17.com/hivaics/CD4-กับ-Viral-load.html
  • Viral Load Test https://www.brianet.com/clinic/viral-load-test/
  • ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเพื่อวางแผนในการรักษา https://www.caremat.org/การรักษาผู้ที่ติดเชื้อ/

Similar Posts